Greennews

English

คนไทยเจอปัญหา PM2.5 มาแล้ว 20 ปี

เมื่อเราต่างฝันถึงวันไร้ฝุ่น

แต่ทำไมเราแก้ไม่ได้สักที

สิทธิที่จะหายใจ สิทธิที่หายไปของคนไทย

สิทธิที่จะหายใจ สิทธิที่หายไปของคนไทย

รู้จักปัญหา: หน้าตา
Motocycler

"ช่วงหน้าฝุ่นครั้งก่อน ผมรู้สึกระคายตาข้างซ้ายจนต้องไปโรงพยาบาล หมอเอาวัตถุปลายแหลมเขี่ยบางอย่างออกจากกระจกตาของผม เขาโชว์ไอ้ที่เขี่ยออกมาให้ดู มันเล็กมากจนผมมองไม่เห็น หมอบอกว่าเป็นฝุ่นละออง"

ธราธร อินทรเทพ เล่าให้เราฟังระหว่างช่วงเวลาที่พักจากการวิ่งรถ เขาใช้เวลาบนถนนวันละ 14-16 ชั่วโมง ขับมอเตอร์ไซค์รับส่งคนและอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นหลากหลาย เขาทำงานนี้มาแล้วหลายปีเพราะรักในความอิสระของงาน

"หลังจากวันนั้น ผมต้องปิดตา วิ่งงานไม่ได้ 2-3 วัน และไปหาหมอเป็นระยะ หมอแนะให้สวมหน้ากากและใส่หมวกกันน็อกที่ปิดกระจกบริเวณตา แต่ผมก็ทำไม่ได้ตลอดเพราะเวลาวิ่งกลางคืนมันมองไม่เห็น"

PM2.5

PM2.5 คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม (2.5 ไมครอน) ทำให้รอดจากการดักจับของระบบทางเดินหายใจและเข้าไปถึงถุงลมฝอยของปอดได้โดยตรง อาการเบื้องต้นคือไอ หายใจไม่ถนัด ระคายเคืองผิว

เมื่อเราหายใจอากาศที่มีปริมาณฝุ่นสูงเกินมาตรฐานความปลอดภัยนาน ร่างกายจะสะสมสารอันตรายที่อยู่ในฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง และสารก่อภูมิแพ้ เพิ่มความเสี่ยงโรคต่างๆ คล้ายการสูบบุหรี่

ช่วงที่ธราธรไม่สบาย แถวบ้านเขามีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานถึง 35 วัน

พฤศจิกายน

ธันวาคม

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม.มากกว่า 90 มคก./ลบ.ม.

เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม. = 51 - 90 มคก./ลบ.ม.

คุณภาพอากาศปานกลางถึงดี
ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม. น้อยกว่า 51 มคก./ลบ.ม.

ข้อมูล: กรมควบคุมมลพิษ

ค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง @ สถานีวัดคุณภาพอากาศบางขุนเทียน พฤศจิกายน 2562 - กุมภาพันธ์ 2563 วันอากาศแย่สุดมีค่าฝุ่นสูงสุด = 96 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่ามาตรฐานไทย 2 เท่าและองค์การอนามัยโลก 4 เท่า

องค์การอนามัยโลก เผยว่าทุกปี คนราว 7,000,000 ทั่วโลกเสียชีวิตเพราะสัมผัสมลพิษทางอากาศสะสม

ปัญหาฝุ่นเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้จริงหรือ?

ปัญหา PM2.5 เกิดจากทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและมนุษย์

แหล่งกำเนิดฝุ่นควัน

แหล่งกำเนิดฝุ่นควัน

สภาพอากาศและสภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่

สภาพอากาศและสภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่

2 อย่างนี้ทำให้แต่ละภูมิภาคเจอปัญหาฝุ่นต่างช่วงเวลากัน

ภาคกลาง: พฤศจิกายน - พฤษภาคม
ภาคเหนือ & ตะวันออกเฉียงเหนือ: มกราคม - พฤษภาคม
ภาคใต้: กรกฎาคม - กันยายน

เมื่อฤดูฝุ่นมาถึง รัฐไทยทำอะไรบ้าง?

ป้องกัน

ป้องกัน

  • เปิด Clean Room พื้นที่ติดเครื่องฟอกอากาศให้บริการ
  • ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในที่สาธารณะ
  • อัพเดตสถานการณ์แก่ประชาชน
  • ประกาศปิดโรงเรียนเมื่อคุณภาพอากาศอันตราย
  • ฯลฯ
รุกลด

รุกลด

  • กำหนดช่วงเวลาห้ามรถบรรทุกเข้าเขตเมือง ช่วงเวลาห้ามเผาทางการเกษตรและก่อสร้าง
  • สนับสนุนให้ชุมชนเก็บเชื้อเพลิงไฟป่า (ใบไม้แห้ง) ไปทำผลิตภัณฑ์
  • กระจายอำนาจให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นดับไฟ
  • ฯลฯ
Government declare policy

ปี 2561 คณะรัฐมนตรีได้ยกระดับให้ปัญหาฝุ่นควันเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข

แต่เราก็ยังเจอปัญหาฝุ่นอยู่

Thai still not satisfy

ข้อมูล: สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นประชาชน 2563

คนไทย 6 ใน 10 คน มองว่า PM2.5 เป็นปัญหาเร่งด่วนและไม่พึงพอใจการรับมือของภาครัฐ

การรับมือวันนี้อาจยังไม่พอ

Citysky
รู้จักปัญหา: แก่น

ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นตรงกันว่าการรับมือวันนี้ยังขาด 4 องค์ประกอบ

การบูรณาการ

ปีนี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาฝุ่นได้เชิญหน่วยงานรัฐ 54 แห่งที่เกี่ยวข้องมาประชุม

งบประมาณ

ไม่มีการตรวจสอบงานของเครือข่ายดับไฟป่าเหนือ 1,000 แห่งที่ได้งบแผ่นดิน ขณะที่ชุมชนที่อาศัยร่วมกับป่าต้องเปิดรับเงินบริจาคอุปกรณ์ดับไฟ

องค์ความรู้

แม่ฮ่องสอนอ่วมฝุ่น! แต่มีแค่ 1 ตำบลที่มีสถานีวัดคุณภาพอากาศ!

การทำงานต่อเนื่อง

แผนแก้ PM2.5 ปี 64 เสนอเข้าครม.แค่ 1 เดือนก่อนฝุ่นบุกกรุง!

เรารับมือ PM2.5 เหมือนกับภัยพิบัติชั่วคราว

Buaros

บัณรส บัวคลี่, สภาลมหายใจเชียงใหม่

อันดับแรกกระบวนทัศน์คุณต้องชัดเจนอยู่ก่อนว่าคุณกำลังรับมือกับปัญหาอะไร ถ้าคุณตีความว่าปัญหาฝุ่นมันคือภัยพิบัติ มันมาแล้วก็ไป แต่ปัญหา PM2.5 เหมือนยักษ์ที่หลับอยู่ มันเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง การผลิตและพฤติกรรมของสังคมที่พัฒนาอย่างไม่ยั่งยืนซึ่งต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปี เรื่องนี้จึงไม่ใช่การรับมือปัญหาเพียงชั่วคราวที่แก้ได้เฉพาะหน้าไม่กี่เดือน

หรือเราควรมีเครื่องมือแก้ปัญหาฝุ่นโดยเฉพาะ

หาทางออก

คนไทยกำลังร่วมกันผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด

กฎหมายนี้มุ่ง…
chapter3.solution.purpose1

1.

รับรองสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างเป็นทางการ

chapter3.solution.purpose2

2.

เป็นเครื่องมือใหม่ให้หน่วยงานรัฐใช้ทำงานเรื่องมลพิษทางอากาศหรือตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าที่โดยเฉพาะ

chapter3.solution.purpose3

3.

รับรองสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศและยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศให้ได้มาตรฐานสากล

chapter3.solution.purpose4

4.

สร้างแหล่งเงินสำหรับทำงาน โดยกำหนดแรงจูงใจและค่าปรับให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันสร้างอากาศสะอาด

ข้อมูล:
1.ร่างพ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ โดย เครือข่ายอากาศสะอาด
2.ร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด โดย หอการค้าไทยและเครือข่าย

ปัจจุบัน กฎหมายอยู่ในขั้นส่งร่างเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประยุกต์เป็นพระราชบัญญัติ

ชวนนึกฝันถึงวันที่มีกฎหมายอากาศสะอาด…จะเกิดอะไรบ้าง

กฎหมายจะช่วยเติมเต็มการคุ้มครองสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดของคุณจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่และเพิ่มช่องทางเรียกร้องความยุติธรรมให้สมบูรณ์ขึ้น

ยกตัวอย่าง: ธราธร มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รู้สึกไม่สบาย สันนิฐานว่าเป็นผลจากมลพิษทางอากาศ

เขาสามารถอ้างให้รัฐรับรองและคุ้มครองสิทธิหายใจอากาศสะอาดได้ตามกฎหมายอากาศสะอาด
(มาตรา 15)

สามารถขอให้องค์กรเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางช่วยดำเนินคดีและเรียกค่าสินไหมทดแทน/ค่าเสียหายได้

ธราธรสามารถเป็นตัวแทนฟ้องคดีแทนมอเตอร์ไซค์รับจ้างคนอื่นๆ ตามการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้คนอื่นได้รับผลชดเชยเดียวกัน

เมื่อศาลพิจารณาแล้ว หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่ถูกฟ้องต้องยุติกิจกรรมการก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (มาตรา 16)

หมายเหตุ: หากเป็นกรณีหมอกควันข้ามพรมแดน ผู้ฟ้องไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าตนป่วยจากสาเหตุฝุ่นควัน แต่ผู้ก่อมลพิษมีภาระต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นผู้ก่อปัญหาฝุ่น

กฎหมายที่ประชาชนผลักดัน แล้วหน่วยงานรัฐเห็นด้วยไหม

ผมเชื่อว่ากฎหมายตัวนี้มีจุดประสงค์ดี กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีบทบาทเฝ้าระวังและติดตามการเกิดมลพิษด้วยเครื่องมือทางกฎหมายที่มี ปัญหา PM2.5 เป็นปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมรับทราบแล้วและทำงานร่วมกันมาตลอด

ศุภกิจ บุญศิริ, รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อรรถพล เจริญชันษา, อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

โดยหลักการ ผมเห็นด้วยอยู่แล้ว แต่เราตั้งอยู่บนหลักการว่ากฎหมายหนึ่งควรจะครอบคลุมหลายประเด็น เรากำลังผลักดันพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการครอบคลุมมลพิษทุกเรื่อง เช่น น้ำเสีย ขยะและอากาศ เราจะเอาเนื้อหาสาระของพ.ร.บ.อากาศสะอาดมาบรรจุด้วยเพราะมลพิษทุกด้านมีความสะอาดไม่ยิ่งหย่อนกัน

กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งในบรรดาเครื่องมือมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยมีมาตลอด คือ สิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด ซึ่งเป็นสิทธิในสุขภาพและชีวิตที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิดตามหลักสิทธิมนุษยชน

แม้ว่าทุกวันนี้ระบบกฎหมายไทยยังไม่เคยรับรองสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดอย่างเป็นทางการ แต่มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของไทยและสากล รัฐจึงไม่มีเหตุผลที่จะละเลยปัญหา PM2.5 อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่เราอยากเห็นที่สุด คือ การที่พวกเราคนไทยตระหนักว่าสิทธิที่จะหายใจนั้นเป็นสิทธิของพวกเรา

ทีมร่างกฎหมาย, เครือข่ายอากาศสะอาด

ท่ามกลางฝุ่นควัน สิทธิที่จะหายใจไม่ได้หายไปไหน…คุณหาเจอแล้วหรือยัง

มาร่วมกันสร้างอากาศสะอาด

เป็นหูเป็นตา ติดตามการทำงานของรัฐ

มาตรการสายไหนที่ใช่คุณ

คุณชอบใช้เวลาอยู่ที่ไหน

แผนพัฒนาอากาศสะอาด ปี 2564 - 2570 ของประเทศไทย

มาตรการ

หน่วยงานหลัก

เพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชนที่สะดวกและปลอดภัย เช่น ทําทางจักรยาน ทางเดินเท้า
กระทรวงคมนาคม, จังหวัด, ท้องถิ่น
เร่งการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ
กระทรวงคมนาคม
ควบคุมการนําเข้าเครื่องยนต์เก่าใช้แล้ว (รถและเรือ) ต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีและเป็นไปตามมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศสําหรับรถผลิตใหม่ที่บังคับใช้อยู่ ณ เวลาที่นําเข้า
กระทรวงพาณิชย์
เพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานและวิธีการตรวจวัดการ ระบายมลพิษจากรถยนต์ ปรับลดอายุรถที่จะต้องตรวจสภาพรถประจําปี
กระทรวงคมนาคม
ใช้มาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงคมนาคม
ทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
หน่วยราชการ
กําหนดพื้นที่และมาตรการจํากัดจํานวนรถเข้าเขตใจกลางเมือง
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ

ข้อมูล: แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 2562 - 2567, แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง, ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 20 กรกฎาคม 2563

อ่านเพิ่มเติม

เรียนรู้เพิ่มเรื่องกฎหมายอากาศสะอาดและวิธีลงชื่อ

ร่วมลงชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.

แชร์ต่อให้คนรอบตัว

FacebookTwitterLine

โดย ณิชา เวชพานิช , สปัญญา ศรีสุข และ วิถี ภูษิตาศัย
แปล ณัชชา เวชพานิช

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนการผลิตจากทุนรายงานข่าวสิ่งแวดล้อม โดย Stockholm Environment Institute (Asia) ผลงานไม่จำเป็นต้องสะท้อนความเห็นขององค์กรและผู้สนับสนุน

ขอบคุณ: กฤษฎิ์ บัวเผื่อน, คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร, เครือข่ายอากาศสะอาด, ธราธร อินทรเทพและ GRAB สันทนาการ Family, นุชนารถ แท่นทอง, ไพสิฐ พานิชกุล, ศุภกิจ บุญศิริ, สภาลมหายใจเชียงใหม่, อรรถพล เจริญชันษา, GISTDA