“เข้าสภา” ร่างเพื่อไทย พรบ.อากาศสะอาด-เผยเตรียมยื่นร่างรัฐบาล คู่ขนาน

สส.เพื่อไทย ยื่นเข้าสภาร่างเพื่อไทยพรบ.อากาศสะอาด ประกาศเตรียมยื่นร่างรัฐบาลดันคู่ขนาน เผยเนื้อหากลไกแก้ปัญหา-PPP-กลไกหมอกควันข้ามแดนอำนาจภาครัฐและเป็นร่าง พรบ.การเงิน

คาดจะช่วยท่องเที่ยวเชียงใหม่ไฮซีซั่นตลอดปีเผยเตรียมอวดเป็นผลงานในเวทีโลกร้อน COP 28 ดูไบ

ด้านพัชรวาทรับลูก ขยับหารือขับเคลื่อนร่างรัฐบาล

(ภาพ : The Reporters)

ยื่นเข้าสภาร่างเพื่อไทยพรบ.อากาศสะอาด

ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย มาพร้อมกับเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในทุกภูมิภาคของพรรค เพื่อแถลงข่าวเรื่อง การยื่นร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา เรื่องของปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นหลัก ให้กับประเทศไทย 

เราได้รับการมอบหมายโดยตรงมาจากท่านนายกรัฐมนตรี คุณเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ท่านได้เดินภารกิจนี้ในลักษณะคู่ขนานเพราะว่ามันเป็นเรื่องที่จะต้องทำผ่านสภา

ในขาแรกคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะจากภาคเหนือ และที่อยู่ในพรรคเพื่อไทย ที่เห็นถึงปัญหานี้ ได้มาร่วมกันลงลายมือชื่อ เพื่อเข้าชื่อเสนอญัตติต่อท่านประธานรัฐสภาในเช้าวันนี้ไปแล้ว พวกเราลงลายมือชื่อกันเพื่อที่จะเดินหน้าในตัวของพรบ. ในฐานะของสมาชิกที่เป็นตัวแทนของประชาชนจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย นำแถลงข่าววันนี้ (27 ก.ย. 2566)

เตรียมยื่นร่างรัฐบาลดันคู่ขนาน

อีกขาหนึ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการ ผมต้องเรียนนี้ครับ ท่านได้มอบหมายให้ท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการที่จะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอพรบ.อากาศสะอาดในเวอร์ชั่นของภาครัฐ ต่อสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วเช่นเดียวกัน

แต่วันนี้เมื่อเราในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเราพร้อมก่อน เราก็ยื่นต่อท่านประธานสภาเรียบร้อย เราในฐานะสมาชิกเราจะผลักดันให้พรบอากาศสะอาด ไม่ว่าจะเป็นของภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นของพรรคการเมืองใด ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลเองก็ตาม ได้สามารถเข้าสู่การประชุม บรรจุระเบียบวาระพิจารณาวาระ 1 แล้วก็ตั้งกรรมาธิการโดยเร็ว เพราะว่าวันนี้ปัญหาของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะอากาศบริสุทธิ์รอไม่ได้จุลพันธ์ุ กล่าว

(ภาพ : VoiceTV)

เนื้อหากลไกแก้ปัญหา-PPP-กลไกหมอกควันข้ามแดนอำนาจภาครัฐ

พรบ. ฉบับนี้ได้ผลักดันมาตั้งแต่สมัยประชุมจากรัฐบาลก่อนหน้า ครั้งก่อนถ้าจำกันได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ซึ่งปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำเสนอต่อสภาในนามของพรรคเพื่อไทย วันนั้นเราไม่มีอำนาจรัฐ วันนี้เราในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล เรามีความเชื่อมั่นจากการที่ท่านนายกได้พูดหลายครั้ง ว่าเห็นความสำคัญของปัญหา เราจึงนำเสนอตัวพรบนี้มาอีกครั้ง พร้อมกับโครงสร้างที่มีการปรับเปลี่ยน และมีความครอบคลุมมากขึ้น 

1. ก็คือกลไกในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องของอากาศสะอาด 

2. คือกลไก PPP หรือ Polluter Pays Principle  ซึ่งกลไกนี้จะมาช่วยในเรื่องของการที่ภาครัฐจะมีอาวุธเอาไว้ใช้ สำหรับการไปจัดเก็บภาษี ไปทำโทษกับผู้ที่เป็นผู้เผา เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ และ 

3. เรายังเติมกลไกในเรื่องของหมอกควันข้ามแดนเข้าไปด้วย หมายความว่าในอนาคตมีบริษัทข้ามชาติที่อาจจะทำให้เกิดมลพิษอยู่ในต่างประเทศก็ตาม เราจะมีกลไกที่จะเข้าไปกำกับดูแลแ ละทำโทษเขาได้ เพื่อที่จะเอามาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย

กลไกทั้ง 3 ส่วนนี้ จะเป็นกลไกสำคัญและเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับภาครัฐในการหาหนทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป 

นอกจากนั้น ยังยืนยันในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของภาครัฐด้วย เช่นเรื่องของการแจ้งเตือนภัย ในกรณีที่มีอากาศเป็นมลพิษ เช่นเรื่องของการทำหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีขานรับมาตั้งแต่ต้น คือการที่จะนำปัญหานี้ไปอยู่ในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยท่านนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้หยิบยกขึ้นไปพูดคุยกับต่างชาติเอง

กฎหมายฉบับนี้จะรองรับในประเด็นทั้งหมดเหล่านั้น เราก็เชื่อว่าด้วยกลไกของสภา ด้วยพลังของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่ยืนอยู่ตรงนี้ และเห็นถึงความสำคัญของปัญหา 

พรรคเพื่อไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของเอ่อฝุ่นควันที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ได้จุลพันธ์ุ แถลง

เตรียมอวดในเวทีโลกร้อน COP 28 ดูไบ

พรบ.ฉบับนี้ พรบ.อากาศสะอาดเพื่อเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน มีการโมดิฟายใหม่ ให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ปัญหาที่ตรงจุดมากขึ้น ไม่ว่าการจะเพิ่มบทลงโทษ การที่จะขยายผลในการคุยในกรอบของหมอกควันข้ามพรมแดน

สืบเนื่องจากการที่ไปประชุม UNGA  ที่สหรัฐอเมริกามากับคณะนายกรัฐมนตรี มีการพูดถึงประเด็น Climate Change  แล้วก็บรรจุในวาระของ PM 2.5 เข้าไปด้วย 

สืบเนื่องต่อไปอีก การประชุม COP 28 ที่ดูไบในช่วงของเดือนพฤศจิกายน ก็จะมีการขยายผลในส่วนของการที่เราได้ยื่น พรบ. นี้เข้าต่อสภา อย่างที่ท่านรัฐมนตรีจุลพันธ์ได้กล่าวไป การทำงาน 2 คู่ขนานนี้ ด้วยกำลังหลักของฝ่ายบริหารในชุดของครม บวกกับกำลังหลักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฝ่ายนิติบัญญัติ 2 ขานี้จะเกิดความแข็งแรง เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว ชุดที่แล้วถูกปลดไปตามวาระของอายุสภาชุดนั้นจากการยุบสภาครั้งนี้เดินหน้าใหม่อย่างเต็มพลังบวกกับกำลังของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

เป็นจุดยืนยันได้อย่างยิ่งว่า ทางรัฐบาลชุดนี้ นำโดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐาทวีสิน มีความจริงใจและตั้งใจจะประกาศอย่างเป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริง เพื่อทวงคืนอากาศบริสุทธิ์อย่างที่พวกเราตั้งใจไว้ ครั้งนี้กลับมาทวงคืนอากาศบริสุทธิ์ให้พ่อแม่พี่น้องอีกครั้งหนึ่ง ก็ขอให้พวกเราให้กำลังใจกับทุกท่าน ในช่วงของปลายปีนี้ ต้นไตรมาสของปีหน้า ก็จะมีหมอกควันเข้ามาอีกแล้ว ก็ให้เตรียมรับไว้ด้วย

ในส่วนของระยะสั้น จะมีปัญหาในการที่จะแก้ไขอย่างไร และส่วนของระยะกลางระยะยาวได้บรรจุไว้ใน พรบ.นี้ ที่จะแก้ไขเพื่อให้พ่อแม่พี่น้อง เพราะฉะนั้นใน 4 ปีนี้ ใน 1 เทอมที่กำลังเดินทางอยู่ ผมคิดว่าสิ่งต่างๆ จะดีขึ้น ค่า PM  พ่อแม่พี่น้องบนดอย หรือทุกภูมิภาค ก็จะได้มีโอกาสที่บริสุทธิ์กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับพรบ.ชุดนี้ ให้ผ่านพ้นแล้วก็เป็นทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศไทยเรื่องของอากาศบริสุทธิ์จักรพล ตั้งสุทธิธรรม อดีต สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และรองเลขาธิการในรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติม

จะช่วยท่องเที่ยวเชียงใหม่ไฮซีซั่นตลอดปี

ท่านนายกได้มีความเห็นและมีวิสัยทัศน์ที่จะหวังว่าให้เชียงใหม่เป็น ไฮซีซั่น (High Season ฤดูนักท่องเที่ยวมาก) ตลอดทั้งปี ซึ่ง PM 2.5 เองก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เชียงใหม่มี โลว์ซีซั่น (Low Season ฤดูนักท่องเที่ยวน้อย)

พรบ.อากาศสะอาดนี้ นอกจากผลการให้สุขภาพพ่อแม่พี่น้องดีขึ้น ยังผลักดันทำให้การท่องเที่ยวของเชียงใหม่เองและเอ่อจังหวัดข้างๆเองได้พัฒนาตามไปด้วยศรีโสภา โกฐคำลือ สส.เชียงใหม่ เพื่อไทย กล่าว

ร่างฉบับอัพเกรดเป็น พรบ.การเงิน

กฎหมาย มันมีวิวัฒนาการของมัน ในอดีตกฎหมายอย่างอย่าง พรบ.คู่ชีวิต เมื่อก่อนบอกเป็นสิ่งเพียงพอ สมัยต่อมาก็บอกว่าต้องเป็นสมรสเท่าเทียม เราไม่รู้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เช่นเดียวกัน พรบ.อากาศสะอาดเป็นจุดเริ่มต้น เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว เราก็มองถึงมิติของพ..บอากาศสะอาดที่จะบังคับกลไกในประเทศ วันนี้เราสิ่งที่เราเติมเข้าไปคือเรื่องของกลไก ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่า Transboundary Haze Pollution  คือกลไกมลพิษข้ามพรมแดน อันนี้เป็นแนวความคิดที่เราเติมเข้าไป มีโมเดลมาแล้วจากเช่นประเทศเช่นสิงคโปร์ 

กลไกของสภาในชุดก่อน เนื่องด้วยเราเป็นฝ่ายค้านในครั้งที่แล้ว เราเสนอพรบอากาศสะอาดเข้ามาเพื่อนสมาชิกอีกบางพักการเมืองเสนอเข้ามาสุดท้าย โดนครม.ในสมัยนั้นปัดตก ด้วยข้ออ้างที่บอกว่าเป็นพรบ.การเงินแต่ของพรรคเพื่อไทยในครั้งก่อนเราไม่โดนตัดตกเพราะเราดึงเนื้อในส่วนที่เป็นการเงินออกเพียงเพื่อเราหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

ในครั้งนี้ พรบ.ฉบับนี้ต้องเรียกว่าเป็น พรบ.ฉบับอัพเกรด เพราะเราดึงเนื้อในส่วนที่เป็นตัวเงินกลับเข้ามา แล้วเราเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีที่นำโดยคุณเศรษฐาทวีสิน จะไม่มีทางปฏิเสธกฎหมายที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ และสมาชิกของพรรคเพื่อไทยเองเราก็มีความเชื่อมั่น และเรารู้กันเองภายใน ว่าเราพร้อมที่จะผลักดันกฏหมายที่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านการพิจารณาในวาระหนึ่ง และได้รับการตั้งกรรมาธิการ และจะประกาศเป็นกฎหมายเพื่อพี่น้องประชาชนต่อไป

มีความมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่แล้วครับ ในในตัวเนื้อหา ต้องไปดูในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามพรบ.ในส่วนของพรบ.อากาศสะอาด มีของภาคประชาชนรออยู่ด้วย ซึ่งตรงนี้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ก็คงจะได้มีการ ทางสภาไม่ใช่พวกเรา คงเป็นเรื่องของสภาที่จะประสานไปยังภาคประชาชนที่ได้มีการยื่นกฎหมายเข้ามา เพื่อมาร่วมพิจารณาในในสภาผู้แทนราษฎรและในชั้นของกรรมการต่อไป

(ทุนข้ามแดน) ครอบคลุมครับ และที่สำคัญคือ ไม่มีทุนใด จะใหญ่ไปกว่าชีวิตของประชาชน เพราะฉะนั้น พรรคเพื่อไทยเรายืนยัน  ท่านนายกรัฐมนตรีเราก็ยืนยัน ว่ากลไกที่เราจะทำเราให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นหลักจุลพันธ์ุ กล่าวเพิ่มเติม

(ภาพ : ทส.)

พัชรวาทขยับหารือขับเคลื่อนร่างรัฐบาล

วันนี้ (27 กันยายน 2566) พล...พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมหารือกับ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ ประธานคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมชั้น 20 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อมมิติสุขภาพและมิติเศรษฐกิจเพื่อวางแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งในเชิงระบบและเชิงโครงสร้างรวมทั้งหารือถึงข้อจำกัดในด้านการบริหารงานของภาครัฐปัญหาทางด้านเศรษฐกิจความยากจนและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรและปัญหาด้านการกำกับระบบตลาดเสรี

โดยในการประชุมหารือ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ 7 ข้อ ได้แก่ การจัดการระบบ Big Data เพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 การมีหน่วยงานหรือกลไกประสานและดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นกลไกการทำงานอย่างต่อเนื่อง การประสานเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในระดับกระทรวง และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างระบบและเครือข่ายการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาควิชาการ การจัดระบบงบประมาณเพื่อการป้องกัน เผชิญเหตุ และฟื้นฟู เยียวยา ทั้งในระยะเร่งด่วน อาทิ การจัดสรรงบกลาง งบลงทุนภาคเอกชน และเงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และในระยะเร่งรัด รวมถึงการบูรณาการงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานตามแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านฝุ่นละอองอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การสื่อสารสาธารณะในทุกช่องทาง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ลดความสับสนของข้อมูลฝุ่น PM2.5 และปรับลดพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของปัญหาฝุ่น PM2.5

นอกจากนี้ ยังมี 5 ข้อเสนอ แนวทางการจัดการปัญหารายสาขาตามแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในภาคเกษตรกรรม กรณีข้าวโพด นาข้าว และอ้อย ภาคคมนาคมขนส่ง และปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นวางเป้าหมายจัดการในพื้นที่ไฟไหม้มากที่สุดในปี 2566 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟที่ลักลอบเผาในพื้นที่ป่า พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด และสนับสนุนการเข้าร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แบบ Win-Win และ Quick Win ซึ่งจะเป็นเป้าหมายในระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาต่อไปรายงานข่าว ทส. เปิดเผย