5 ประเด็น ทำเนียบรัฐบาลเปิดแถลงครั้งแรก กรณีวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียมหาย” จากโรงไฟฟ้าในปราจีนบุรี เผยผลตรวจจล่าสุดจากหน่วยงานรับผิดชอบระบุ “ไม่พบการปนเปื้อน” ทั้งใน “สิ่งแวดล้อมรอบโรงหลอมโลหะที่พบการปนเปื้อน – 71 คนงานโรงหลอม – ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ 120 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจจ”
กำลังใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ดูการกระจายตัวของรังสี เพื่อหาทางควบคุม
นายกฯ สั่งหาต่อ “สาเหตุการหาย-มีใครลักลอบหรือไม่

1. “ไม่พบปนเปื้อน” สิ่งแวดล้อมนอกโรงงาน
เช้าวันนี้ (24 มี.ค. 2566) ณ ทำเนียบรัฐบาล จัดงานแถลงข่าวรายงานข้อเท็จจริง และความคืบหน้าต่อสถานการณ์การสูญหายของซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าโพลังไอน้ำของ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ประมาณ ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา
ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบ และพบการปนเปื้อนของซีเซียม-137 ในถุงบิ๊กแบ็คที่บรรจุฝุ่นโลหะ ซึ่งเป็นของเหลือใช้ (by-product) จากกระบวนการหลอมโลหะของโรงงานเค พี พี สตีล ใน อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี เมื่อ 19 มี.ค. 2566
รณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า ได้ทำการตรวจสอบร่างกายพนักงาน แล้วไม่พบการปนเปื้อน นอกจากนั้นได้ตรวจทั้งน้ำ ดิน และอากาศในบริเวณรอบ ๆ โรงงานในระยะ 10 กิโลเมตร ก็ไม่พบการปนเปื้อน
“นอกจากนั้นเพื่อคลายความกังวลของชาวบ้าน เราได้นำเครื่องมือวัดรังสี โดยนำน้ำ ดิน และอากาศ รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน มาจ่อที่เครื่องเพื่อเพื่อสร้างความมั่นใจว่าไม่พบการปนเปื้อนจริง ๆ และยังฝากไปยังบุคลภายนอกด้วยว่าขอให้มั่นใจว่าผลไม้ของพื้นที่ยังบริโภคได้” ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าว

2. “ไม่พบปนเปื้อน” 71 คนงานโรงหลอม
“กลุ่มที่มีโอกาสสูงที่สุดที่จะมีปริมาณสารซีเซียมก็คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน 71 ราย โดยได้ทำการตรวจอย่างละเอียด ทั้งตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ โดยขณะนี้ผลตรวจเลือดออกมาแล้ว พบว่าไม่พบการปนเปื้อนรังสี
ส่วนผลการตรวจปัสสาวะออกมาแล้ว 50% ไม่พบการปนเปื้อนรังสีเช่นกัน และคาดว่าผลตรวจที่ยังไม่ออกอีก 50% ก็จะไม่พบการปนเปื้อนเช่นเดียวกัน” ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยผลการตรวจกลุ่มเสี่ยงสูง
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวว่าถึงตอนนี้ตรวจพบการปนเปื้อนของรังสีซีเซียม-137 อยู่แค่ภายในถุงบิ๊กแบ็คจำนวน 23 ถุง และภายในเตาหลอมที่โรงหลอมเท่านั้น
ส่วนผลจากการตรวจสอบจุดอื่น ๆ ภายในโรงงาน และบริเวณรอบ ๆ โรงงานในระยะ 10 กิโลเมตร ไม่พบการปนเปื้อนรังสีแต่อย่างใด ซึ่งได้ทำการตวรจ
นอกจากนั้นปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวว่า ได้ทำการติดตั้งจุดตรวจวัดรังสีเพิ่มเติมในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีก 9 จุด โดยผลการตรวจอยู่ในระดับปกติ
“ปริมาณของสารกัมมันตรังสีที่สูญหายไป และปริมาณรังสีที่ตรวจพบในโรงงานมีปริมาณอยู่ไม่มากนัก และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ ก็ยังไม่พบ ซึ่งนายกฯ ได้กำชับให้ทำการตรวจสอบต่อไปจนกว่าสถานกาณ์จะเป็นปกติ” ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าว

4. “ไม่พบปนเปื้อน” ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ 120 ตัวอย่าง
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ เปิดเผยว่า ได้ทำการสุ่มตรวจพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และปลาในจังหวัดปราจีนบุรี ไป 120 ตัวอย่าง โดยทุกตัวอย่างให้ผลเป็นลบ ไม่พบการปนเปื้อน
“เราได้ทำการตรวจการปนเปื้อนทั้ง 3 วิธี คือ 1. การตรวจผิวสัมผัสโดยตรง 2. การขูดบริเวณผิวของตัวอย่างออกมาตรวจสอบ โดยผลจากการตรวจ ทั้ง 2 วิธี ให้ผลเป็นลบ ไม่พบการปนเปื้อน และยังได้ทำ 3. การตรวจสอบโดยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการซึ่งจะใช้เวลา 2 – 3 วัน ถึงจะรู้ผล และจะมอนิเตอร์อย่างต่อเนื่อง” ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าว

5. ใช้แบบจำลองคำนวน “การกระจายตัวรังสี” ในปราจีน
“ทางภาควิชาได้ร่วมมือกันในการประเมินสถานการณ์ในเรื่องของปริมาณรังสีที่จะส่งผลต่อประชาชนได้ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจำลองการกระจายตัว จากการจำลองสถานการณ์ที่แย่ที่สุดปริมาณรังสีที่อยู่ในบริเวณโรงงานที่ห่างออกมาจากจุดเก็บ ก็ยังไม่สูงเกินกว่าระดับในธรรมชาติ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เปิดเผยว่า จากการประเมินของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คำนวนว่าสถานการณ์รุงแรงสูงสุดที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพ พบว่าถ้าสัมผัสซีเซียม-137 โดยตรงจากปริมาณที่ตรวจพบค่าจากโรงหลอมเหล็กในระยะเวลา 30 ชม.เท่ากับการเอ็กเซรย์ปอด 1 ครั้ง ดังนั้นเท่ากับไม่มีผลกระทบ และอยู่ในสภาวะที่หน่วยงานพยายามควบคุม
“สรุปได้ว่ายังมีปริมาณรังสีอยู่ แต่ปริมาณรังสีที่มีไม่มากนัก และอยู่ในสภาวะที่หน่วยงานต่าง ๆ พยายามเข้าควบคุมอย่างเต็มที่” ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้ความมั่นใจ

5. สืบสวนต่อ “หายได้ไง-ใครลักลอบไหม”
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการสืบสวนสอบสวนถึง สาเหตุการหายไปของซีเซียม-137 มีใครลักลอบนำออกไปหรือไม่
รวมถึงแหล่งรับซื้อ หรือว่าการที่มีผลกระทบต่อประชาชนจะต้องมีใครร่วมรักผิดชอบด้วยหรือไม่
ซึ่งนายกฯ สั่งให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัส ผู้บัญชาการตำรวจ (ผบ.ตร.) ดำเนินการสืบสวนหาหลักฐานเรื่องการหายไปของซีเซียม-137 จากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ
เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องมีมาตรการในการจัดการหากเกิดปัญหาเช่นนี้อีก”
อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว