เมื่อ 1 องค์กรพิทักษ์สัตว์ จับมือกลุ่มศิลปิน-เซเลป สร้าง 4 ผลงานศิลปะ 4 แขนง เพื่อพูดเรื่อง “สวัสดิภาพสัตว์-ผลกระทบต่อผู้บริโภค-ระบบอาหารยั่งยืน”
“The last suffer” ( Installation โดย มารีญา พูลเลิศลาภ และ นักรบ มูลมานัส) “เจ้าชายลอกับไก่วิปลาส” (ลิเกแนว Fantasy-Romantic โดย ประดิษฐ ประสาททอง และกลุ่มละครอนัตตา) “ชีวิต A4” (Installation และศิลปะผสม โดย ครูเซียง หมอลำหุ่น คณะเด็กเทวดา) “Kult Of Chicken” (Performance art โดย นนทวัทธ มะชัย)

เทศกาลศิลปะเพื่อไก่และคน
“ไก่ 72,000 ล้านตัวทั่วโลก ถูกเลี้ยงและฆ่าเพื่อการบริโภคในแต่ละปี โดย 2 ใน 3 ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายและน่าหดหู่
เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์อย่างมีสวัสดิภาพในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนและสัตว์ โดยเฉพาะไก่ ซึ่งมีการบริโภคเป็นจำนวนมหาศาล
รวมถึงผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย ตลอดจนทางออกที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้ เพื่อความยั่งยืนของระบบอาหารที่เกื้อกูลกันของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
เป็นการจัดงานในซีรีส์ที่ 2 ต่อจากงาน Happy Meat Happy Me สัตว์อยู่ดี คนอยู่ได้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และกระตุ้นการปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบอย่างมีมนุษยธรรม ก่อนส่งออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับกระแสความสนใจและการตื่นรู้อย่างต่อเนื่องของผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี
องค์กรฯ จึงมุ่งสร้าง แรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างต่อเนื่อง การส่งเสียงตะโกน ผ่านงานศิลปะ และผนึกพลังศิลปินในครั้งนี้ต้องการสื่อสารถึงความทุกข์ทรมานจากการเลี้ยงไก่ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อย่างไร้มนุษยธรรม
และมุ่งหวังให้ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงเร่งจัดระบบการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์มอย่างมีสวัสดิภาพอย่างเป็นรูปธรรม อย่างเช่น การจัดระบบพื้นที่ลดความแออัดภายในโรงเรือน การเลือกใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า เและการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่เอื้อให้ไก่แสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติทำให้ไก่ไม่เจ็บป่วยง่าย อันนำไปสู่การลดการใช้ยาปฏิชีวนะ เกินความจำเป็น ที่จะส่งผลกระทบกับสุขภาพสัตว์ คน และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นลูกโซ่ ที่เกิดเป็นวิกฤติ เชื้อดื้อยาทั่วโลกในขณะนี้”
เหมือนดาว คงวรรณรัตน์ ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ว่า “งาน เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก” เทศกาลศิลปะ เพื่อไก่และคน ที่กำหนดจัดขึ้นในที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ณ ลานกิจกรรมด้านหน้า หอศิลปกรุงเทพฯ เวลา 16:00-21:00 น. และผลงานทั้งหมดจะนำไป จัดแสดงต่อภายในหอศิลปกรุงเทพฯ จนถึงวันที่ 5 มีนาคม

“The last suffer”
ผลงาน Installation โดยมารีญา พูลเลิศลาภ และ นักรบ มูลมานัส ภายใต้คอนเซ็ปต์ดังนี้
“แรงบันดาลใจเกิดจากภาพวาดที่ชื่อว่า the last supper โดยเปลี่ยนจากคำว่า supper เป็นคำว่า suffer ซึ่งหมายถึง ความเจ็บปวดของไก่ เพราะไก่เจ็บปวดจากวิธีการเลี้ยงที่ผิดวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิต ตามที่คนต้องการ โดยนับเป็นครั้งแรกของการทำงานร่วมกัน ของมารีญา พูลเลิศลาภ และ นักรบ มูลมานัส ซึ่งเป็นงานประเภท Installation เพื่อให้คนได้เข้าไปมีส่วนร่วมถ่ายภาพ และ มี interaction โดยตัวงานศิลปะ จะถูกออกแบบให้เหมือนโต๊ะอาหารและมีบักเกตไก่ตั้งอยู่ พร้อมด้านหลังจะมีศิลปะคอลลาจประดับ เพื่อเล่าเรื่องราวที่งานต้องการจะสื่อ”
“เจ้าชายลอกับไก่วิปลาส”
ผลงาน ลิเกแนว Fantasy-Romantic โดย ประดิษฐ ประสาททอง และกลุ่มละครอนัตตา ภายใต้คอนเซ็ปต์ดังนี้
“…เมื่อเจ้าชายลอผู้หลงไหลไก่ประหลาดค้นพบว่าไก่ตัวนั้นไม่ใช่ไก่ธรรมดา…
เรื่องย่อ : “ปู่เจ้าสมิงพราย”ผู้เป็นใหญ่เหนือภูติผีทั้งหลายได้รับคำสั่งลับให้หาวิธีกำจัด“เจ้าชายลอ” แห่งเมือง แมนสรวงซึ่งออกเดินทางไปตามหาคนรักคือ“พระเพื่อน”และ”พระแพง”สองธิดาแห่งเมืองสรอง ปู่เจ้าจึงตั้งพิธี ปลุกเสก“ไก่ผี”อัศจรรย์พันลึกไปหลอกล่อให้เจ้าชายลอติดตามเข้าในป่ามนต์แห่งเวียงกาหลง เพื่อกำจัดเจ้าชายลอตามคำสั่งลับนั้นระหว่างการเผชิญหน้ากับอันตรายเจ้าชายลอกลับค้นพบความลับของไก่ผี ที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น”

“ชีวิต A4”
ผลงาน Installation และศิลปะผสม โดย ครูเซียง หมอลำหุ่น คณะเด็กเทวดา ภายคอนเซ็ปต์ดังนี้
“ใช้วัสดุที่เป็นเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ สุ่มไก่ หวาย ฟางข้าว มาสร้างสรรค์ให้เป็นไก่ ขนาดความสูง 3 เมตร ที่มีลักษณะเป็นไก่ฟาร์ม ที่ถูกมัดขาไว้กับหลัก ที่มีความยาวของระยะไก่ เดินได้แค่ กระดาษ A4 อันเป็นนัยยะ เหมือนไก่ถูกมัดไว้ในพื้นที่แคบๆ ที่มีชีวิตทั้งชีวิต เดินได้ไกลแค่พื้นที่กระดาษ A4 และไก่เหมือนโดนปิดตาอยู่ในโลกมืด ถูกบังคับให้กินตามเวลาที่คนเลี้ยงกำหนดไว้ โดยการเปิดปิดไฟ เพื่อบอกเวลากลางวัน และกลางคืนเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารตามที่คนเลี้ยงกำหนด”
“Kult Of Chicken”
ผลงาน Performance art โดย นนทวัทธ มะชัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ดังนี้
“อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่เพื่อการบริโภคแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้ม จะเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของตลาด การแสดง Performance art จากลานยิ้มการละครชิ้นนี้ แสดงออก ถึงสภาวะความเป็นไปของการเผยแพร่ลัทธิบริโภคนิยมจากการผลิตไก่สู่คนและจากคน สู่ความเป็นไปของไก่”
“งาน “เอ้ก-อี-เอ้ก อ๊ากกก เทศกาลศิลปะ เพื่อไก่และคน” ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.- 5 มี.ค. 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (สำหรับ ศิลปะประเภทการแสดงจะมีเฉพาะในวันเปิดงาน 25 ก.พ. 2566 ระหว่างเวลา 16:00-21:00 น. ณ ลานด้านนอก หอศิลปกรุงเทพฯเท่านั้น) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ chickenartfestival.org และ Facebook: World Animal Protection Thailand องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก #WorldAnimalProtectionThailand #เอ้กอีเอ้กอ๊ากกก #เทศกาลศิลปะเพื่อไก่และคน” เหมือนดาว กล่าว
