“จะเร่งแก้” สองกรมฯ รับปากเหยื่อมลพิษกากอุตสาหกรรม “แวกซ์ กาเบ็จ”

กรมโรงงาน “รับปากจะลงพื้นที่ หาทางแก้ แต่ไม่กำหนดกรอบเวลา” ขณะที่กรมบังคับคดีรับปาก “จะติดตามทุกสัปดาห์-เช็กข้อมูลที่ขาดเพื่อเร่งเยียวยา” ผลการยื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการแก้ไขสถานการณ์มลพิษกากอุตสาหกรรม โรงงานรีไซเคิล “แวกซ์ กาเบ็จ” ของเครือข่ายชาวบ้นผู้ได้รับผลกระทบจากราชบุรี

ด้านชาวบ้านเผย มลพิษยังรุนแรงในพื้นที่แม้โรงงานจะปิดหนีไปแล้ว ทั้งกลิ่นและการรั่วไหลโดยเฉพาะช่วงฝนตก ได้รับผลกระทบต่อเนื่องและตั้งรับลำพัง บางคนทนไม่ไหวต้องย้ายหนี ยันต้องการมาตรการแก้ไขเร่งด่วน-ฟื้นฟูพื้นที่ชุมชนให้ปลอดภัย-เยียวยาความเสียหายตามคำสั่งศาล-หาคนผิด/ไม่ปฏิบัติหน้าที่

ของเสียที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่โรงงานของบริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด (ภาพ : สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ราชบุรี)

“จะลงพื้นที่ หาทางแก้ แต่ไม่กำหนดกรอบเวลา” กรมโรงงาน

วันนี้ (17 ต.ค. 2565) ชาวบ้าน จาก ต.น้ำพุ จ.ราชบุรี เดินทางมาที่ กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามหก เพื่อเรียกร้องให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการตามหนังสือข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้

  1. เร่งกระบวนการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมอันตรายภายในโรงงานของบริษัทแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ออกไปกำจัดให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วตามคำพิพากษาของศาล เพื่อขจัดความเสี่ยงอันตรายของพืนที่นี้ที่ยืดเยือมานาน
  2. เร่งการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษจากการประกอบกิจการบริษัทแวกซ์กาเบ็จรีไซเคิลเซ็นเตอร์ จำกัด ให้คืนสภาพสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและประกอบอาชีพทางการเกษตรของชาวบ้านน้ำพุได้ อย่างยั่งยืนต่อไป
  3. ดำเนินการตรวจสอบความบกพร่องในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การกระท้าผิดของบริษัทแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด

ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องอันเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกอบการกิจการโรงงานของบริษัท แวกซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ที่สร้างความเดือดร้อนต่อชาวบ้านมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่เปิดทำการเมื่อปี 2544 

โดยในหนังสือกล่าวว่า การดำเนินการของโรงงานทำให้สภาพแวดล้อมและแหล่งน้ำสาธารณะทั้งแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้รับการปนเปื้อนสารมลพิษ จนเสื่อมโทรมและไม่สามารถใช้การได้ และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ที่มีหลายคนป่วยและพบว่ามีสารโลหะหนักในร่างกาย จนทำให้ประชาชนในหมู่ที่ 1 ต.น้ำพุ ยื่นฟ้องคดีแพ่งแบบกลุ่มกับ บริษัทแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2560 และศาลแพ่งพิพากษาเมื่อ 24 ธ,ค, 2563 ให้บริษัทรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 

แต่ผ่านไปร่วม 2 ปี ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เกิดขึ้น กากอุตสาหกรรมอันตรายในโรงงานก็ยังคงอยู่ที่เดิม ไม่มีหน่วยงานไหนทั้งกรมโรงงานฯ และอุตสาหกรรมจังหวัดที่จะดำเนินการกำจัดกากอุตสาหกรรมให้ถูกต้อง ปลอดภัย  และทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่มีการฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพที่ปลอดภัย เหมือนก่อนที่จะมีโรงงานเลย

การที่ไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหวภายในโรงงานนั้น จนเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ภายในตัวอาคาร ที่ใช้เก็บกักกากสารเคมีกว่า 34,700 ถัง จนต้องใช้เวลาดับเพลิงนานหลายวัน กลุ่มควันฟุ้งกระจายไปหลายกิโลเมตร พื้นดินและแหล่งน้ำ

ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้มีมาตรการควบคุมการ เคลื่อนไหวภายในโรงงานหลังจากศาลมีค้าพิพากษา จนกระทั่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ครังใหญ่ภายในอาคารของ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล จ้ากัด ที่ใช้เก็บสะสมกากสารเคมีหลายหมื่นถังจนต้องใช้เวลาดับเพลิงนานหลาย วัน กลุ่มควันเคมีฟุ้งกระจายไปท่ัวท้องฟ้าและลอยเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร และยังท้าให้พืนดินและแหล่งน้ำรอบ ๆ เกิดการปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้นจากการฉีดน้ำดับเพลิง เพราะทางบริษัทไม่มีระบบและแนวป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษสู่ภายนอกโรงงานจากเพลิงไหม้ และน้ำท่วม

นอกจากนั้น ภายหลังไฟไหม้ หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่เข้าควบคุมให้ดำเนินการเคลื่อนย้ายกากอันตรายไปกำจัดอย่างถูกต้อง แต่กลับปล่อยให้คนงานใช้รถแบคโฮเจาะ และกดจนของเหลวในถังทะลักออกมาทำให้เกิดการปนเปื้อนมากขึ้น 

พื้นที่น้ำปนเปื้อนจากสารเคมีเอ่อขังในโรงงาน ดินและหินที่ปนเปื้อนจากสารเคมีจากการนำมาถมพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้อีกกว่า 500 ตัน และถังสารเคมีที่ถูกไฟไห้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ยังไม่ถูกดำเนินการเคลื่อนย้ายไปกำจัด อย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนถึงปัจจุบัน

จากความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้เครือข่ายฯ เรียกร้องให้หน่วยงานที่มีอำนาจจัดการ ช่วยเร่งดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน ตาม 3 ข้อเรียกร้องที่กล่าวถึงข้างต้น

จำเนียร จินดาโชติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลน้ำพุ จังหวัดราชบุรี ให้สัมภาษณ์ว่า อธิบดีกรมโรงงานฯ รับปากว่าจะประสานกับหน่วยงานข้างเคียงลงมาดูพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเสียหาย แต่กรอบระยะเวลายังไม่สามารถระบุได้ โดยอธิบดีกล่าวว่า จะใช้เครื่องมือและกฎหมายทั้งหมดที่มีในการดำเนินการ

จำเนียรกล่าวถึงข้อกังวลของชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องการให้มีการเร่งรัดเอาสารเคมีที่ยังตกค้างอยู่ในพื้นที่จำนวนมากออกไป ซึ่งในช่วงที่มีฝนตกก็ทำให้ชาวบ้านก็กังวลว่าฝนจะชะสารเคมี ทำให้สารอันตรายออกมาปนเปื้อนสภาพแวดล้อม

“ที่ชาวบ้านไปวันนี้ก็ต้องการฟังว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยส่วนหนึ่งก็ต้องการให้มีการรับรู้รับทราบปัญหาที่ชาวบ้านได้รับ เพราะชาวบ้านเกรงว่าข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ อาจจะส่งไปไม่ถึงผู้ใหญ่ในกระทรวง การแก้ไขก็อาจจะเกิดการล่าช้า ทำให้ต้องมีการเข้ามายื่นหนังสือในวันนี้

โดยในช่วงที่ยังไม่มีการดำเนินการ หรือช่วงที่กำลังดำเนินการ ที่อาจจะต้องใช้เวลา ก็อยากให้มีมาตรการออกมาเพื่อป้องกันสารเคมีที่ยังคงอยู่ในโรงงานก่อนไม่ให้หลุดออกมา เพราะตอนนี้ก็มีกลิ่นที่สร้างความเดือดร้อนอยู่ และถ้าฝนตกลงมาก็อาจจะมีการรั่วไหลของสารเคมี” จำเนียรกล่าว

ชาวบ้าน ต.น้ำพุ จ.ราชบุรี หน้าศาลแพ่ง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ถนนรัชดาภิเษก ภาพเมื่อ 24 ธ.ค. 2563 (ภาพ : theactive Thai PBS)

“จะติดตามทุกสัปดาห์-เช็กข้อมูลที่ขาดเพื่อเร่งเยียวยา” กรมบังคับคดี

เช้าวันเดียวกัน เครือข่ายคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรีและประชาชน ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ได้ยื่นหนังสือถึงรองอธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเร่งรัดดำเนินการประกาศรายชื่อ และจำนวนเงินที่จะได้รับเงินเยียวยาให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลแพ่งโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหามานานกว่า 20 ปี ให้ได้รับความเป็นธรรม

หลังจากศาลแพ่งพิพากษาเมื่อ 24 ธ.ค. 2563 ให้ประชาชนชนะคดี ทำให้บริษัทต้องรับผิดชอบเยียวยาความเสียหาย และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแล แต่ผ่านมากว่า 2 ปี ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ 

โดย 6 ก.พ. 2564 กรมบังคับคดีได้เข้าตรวจสอบพื้นที่หมู่ 1 ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เพื่อประชุมร่วมกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และรับคำร้องขอรับเงินเยียวยา ซึ่งผู้แทนจากกรมบังคับคดีได้แจ้งว่า การดำเนินการจะใช้เวลาไม่นาน โดยคาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับเงินเยียวยาภายใน 1 เดือน แต่ตั้งแต่วันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

“วันนี้ที่ชาวบ้านไปยื่นก็เพื่อสอบถามกระบวนการของกรมบังคับคดี จากเมื่อ ก.พ. 64 ที่ผ่านมา กรมบังคับคดีเคยอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านโดยมารับคำขอการเยียวยา แต่ตั้งแต่นั้นมาปีกว่า ๆ ก็ยังไม่ได้รับแจ้งใด ๆ เกี่ยวกับรายชื่อผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา และจำนวนเงินที่แต่ละคนจะได้รับ ชาวบ้านก็สงสัยว่าเกิดการล่าช้าตรงไหน ก็เลยเข้ามาสอบถาม

นอกจากนั้นที่ชาวบ้านเข้ามาในวันนี้ก็อยากให้ช่วยเร่งรัดการบังคับคดีในกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และกระบวนการเยียวยาด้วย

รองอธิบดีกรมบังคับคดี เสกสรรค์ สุขแสง ก็มารับหนังสือด้วยตัวเอง และพูดคุย หารือเกี่ยวกับกระบวนการ ซึ่งรองอธิบดีก็กล่าวว่า จะมอบหมายเจ้าหน้าที่ติดตามกรณีนี้โดยเฉพาะ และติดตามเรื่องนี้ทุกสัปดาห์ถึงความคืบหน้า และจะมีการนัดให้ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้านตรวจสอบดูรายชื่อผู้ที่ขอรับการเยียวยาว่ายังขาดข้อมูลส่วนไหนบ้าง จะพิจารณาให้แล้วเสร็จ และประกาศรายชื่อภายในสิ้นเดือนนี้” จำเนียรกล่าว

เหตุการณ์ไฟไหม้ภายในโรงงาน แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด เมื่อ 16 มิ.ย. 2565 (ภาพ : mgronline)

ชาวบ้านยัน “ต้องมีมาตรการเร่งด่วน”

“ตอนนี้ชาวบ้านก็ทำกินไม่ได้ บางรายก็ถึงขั้นต้องขายทรัพย์สิน ขายรถ ไฟฟ้าถูกตัด ขาดรายได้ไม่สามารถทำกินได้ เพราะพื้นที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้จากการที่น้ำปนเปื้อน ซึ่งช่วงนี้ก็มีน้ำซับ น้ำผุดจากใต้ดินก็มีกลิ่นเหม็น และไม่สามารถดึงน้ำในลำห้วยไปใช้ได้ เพราะลำห้วยก็ถูกปนเปื้อนจากสารเคมีอยู่แล้ว บ่อที่เคยขุดเจาะไว้ก็ปนเปื้อนด้วย ชาวบ้านบางรายที่มีพื้นที่กว่า 100 ไร่ ก็ไม่สามารถทำประโยชน์ได้เพราะว่าขาดแหล่งน้ำ

ก็อยากจะฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมโรงงานฯ กรมบังคับคดีฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับกรม เพราะชาวบ้านลำบากในการใช้ชีวิตมาก อย่างแรกเลยคือเป็นพื้นที่เกษตรแต่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ 

กระบวนการในการดำเนินการมันล่าช้าพอสมควรในการที่จะแก้ไขปัญหา หลังจากมีคำพิพากษาตั้งแต่ปี 63 แต่ปัจจุบันกว่า 2 ปี แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เลย 

ประกอบกับปัจจุบันโรงงานไม่มีการจัดการภายในโรงงานเลย มีแต่การปนเปื้อน มีผลกระทบมากขึ้น ทั้งจากไฟไหม้ แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาแก้ไขอย่างจริงจัง สุดท้ายก็อยากจะฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูสภาพปัญาหาว่าต้องจัดการอย่างเร่งด่วนยังไงบ้าง เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน” จำเนียร กล่าว

ของเสียที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่โรงงานของบริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด (ภาพ : สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ราชบุรี)