หนังสือเล่มแรกของไทยว่าด้วย “การฟ้องปิดปาก” กับ “นักข่าว-โดยเฉพาะคนทำงานข่าวสิ่งแวดล้อม” เปิดตัววันนี้ที่กลางกรุง พร้อมหลากทรรศนะจากทั้งผู้จัดทำ ผู้อ่านกลุ่มแรก และนักกฏหมาย
เปิดตัวหนังสือ
วันนี้ (23 ก.ย. 2565) ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Center (CRC) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล International Commission of Jurists: ICU และ สำนักเครือข่ายสารธารณะ ไทยพีบีเอส จัดงาน เสวนาเปิดตัวหนังสือ“การทำความเข้าใจการถูกฟ้องร้องกลั่นแกล้ง (SLAPP) สำหรับสื่อมวลชน” ณ SEA Junction หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Strategic Lawsuit Against Public Participation (SLAPP) หรือ การดำเนินคดีเชิงยุทธศสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณะ คือ การฟ้องคดีที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อระงับหรือขัดขวางการวิพากษณ์ วิจารณ์เรื่องสาธารณะ หรือ เพื่อขัดขวางกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์สำหรับผู้ฟ้องคดี การฟ้อง SLAPP มักก่อให้เกิ ภาวะชะงักงัน ต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการมีส่วนร่วมทงการเมือง รวมถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์
จากข้อมูลรายงานขององค์กร Business & Human Rights Resource Center : BHRRC เรื่อง Strategic Lawsuit Against Public Participation : Southeast Asia cases & recommenndation for government, business and civil society พ.ศ 2563 และ เรื่อง SLAPP bot not silenced : Defending human rights in the face of legal risks” พ.ศ.2564 ระบุว่า
“จำนวนนักปกป้องสิทธิมนุษย์รวมถึงองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษย์ชน ถูกคุกคามทั้งทางกายภาพและการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือฟ้องร้องดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) เป็นตัวเลขมากกว่า 3,100
กรณีโดยภาคธุรกิจเท่านั้นซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวการฟ้อง SLAPP จำนวน 355 คดีโดยคดีที่เกิดขึ้นรวบรวมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 22 พ.ศ.2558 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554”
ทั้งนี้หนึ่งในข้อค้นพบสำคัญของรายงานคือ การฟ้องคดี SLAPP เกิดขึ้นมากที่สุดในประเทศแถบละตินอเมริกา ตามด้วยประเทศแถบเอเชีย และ ภูมิภาคแปซิฟิก
นอกจากนี้รายงาน BHRRC ระบุว่ากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายหรือมาตรการเพื่อป้องกันการฟ้อง SLAPP ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ที่บังคับใช้กฎหมาย SLAPP ในบริบทของสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยแม้มีมาตรการป้องกันการฟ้อง SLAPP แต่บทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะบริบทของคดีอาญา และ ผู้ฟ้องคดีคือเอกชนเท่านั้น” รายงานระบุ
‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก
“SLAPP เป็นสีเทา คือการที่ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตนเองมีสิทธิซึ่งจะต้องไปต่อสู้ในชั้นศาล แต่กว่าจะไปถึงกระบวนการตรงนั้นต้องใช้ต้นทุนทุกอย่างที่มี คือเวลา-ค่าใช้จ่าย-ภาวะบั่นทอนทางจิตใจของทั้งตนเองและครอบครัว
คนที่จะเหนื่อยล้าที่สุดก็คือคนที่เปราะบางที่สุดเห็นข้างนอกเข้มแข็งแต่ภายในโดดเดี่ยว-อ่อนแรง
นี่คือสถานการณ์ของผู้ถูกฟ้อง SLAPP การให้กําาลังใจตัวเองจึงสําาคัญที่สุด ดึงพลังของตัวเองขึ้นมาให้ได้ และ พร้อมที่จะลุกขึ้นมาสู้คดี” ส่วนหนึ่งของหนังสือ SLAPP ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก
มุมมองจากบรรณาธิการ
ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล ประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และบรรณาธิการจากนิตยสารสารคดี กล่าวว่า SLAPP เป็นเรื่องทางกฎหมาย เป็นเรื่องยาก ๆ เรื่องหนึ่ง เราอยากจะทำให้เข้าใจได้ง่าย ไม่อยากดูเหมือนยาขมที่ไม่อยากจะหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน เพราะฉนั้นเลยอยากสะท้อนตั้งแต่ชื่อเรื่อง ที่อาจจะรู้สึกว่าเป็นวรรณกรรม นิด ๆ แล้วก็เป็นมิตรกับผู้อ่าน
“ไม่ว่าจะเป็นสื่ออิสระ สื่อพลเมือง สื่อมวลชน ทั้งมีสังกัดและไม่มีสังกัด เราต่างมีความฝันเดียวกัน คือ ความฝันถึงการทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา มีสิทธิ เสรีภาพและโอกาสในการนำเสนอข่าวสาร เพื่อสังคมที่ดีขึ้น เป็นอุดมการณ์มุ่งมั่นที่เรายึดถือในฐานะสื่อ เป็นที่มาของชื่อหนังสือ SLAPP ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก
เนื้อหาในหนังสือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.สร้างความเข้าใจว่า SLAPP คืออะไรทั้งในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในแถบยุโรป 2.ร่วมรวมเคสมกรณีศึกษาที่น่าสนใจทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศทั้งหมด 7 เคส 3.คือเรื่อง How to ทำยังไงเมื่อถูก SLAPP ให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนมาอ่านเพื่อที่จะ ได้รู้ว่า ถ้าเจอ SLAPP เนี่ยให้ตั้งหลักดี ๆ แล้วก็ดูว่าจะทำยังไงต่อไป”
ปัญหา SLAPP ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ในหลาย ๆ ประเทศก็มีสิ่งที่เรียกว่า SLAPP เกิดขึ้นเช่นกัน” ฐิติพันธ์ กล่าว
ความเห็นจากบก.ประชาไท
เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท นำเสนอมุมมองหลังจากอ่านหนังสือ SLAPP ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปากว่า
“หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่เป็นเนื้อหาข้อกฎหมาย แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวของการ เผชิญหน้ากับ ความยากลำบากในการต่อสู้ดำเนินคดีของนักข่าว กรณีศึกษาของเคสถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งในไทยและต่างประเทศ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และมุมมองในมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SLAPP
ในหนังสือยังรีวิวว่า ในต่างประเทศมีกฎหมายในการ Anti SLAPP หรือ การป้องกันการฟ้อง SLAPP ยังไงบ้าง แล้วก็ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ทำงานขับเคลื่อนในการปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ ที่จะทำยังไงในการร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องป้องกัน SLAPP
นอกจากงานหนังสือยังมีเรื่องข้อแนะนำของผู้สื่อ ในการที่จะนำเสนอขาวอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง ข้อเสนอแนะถูกฟ้องแล้วจะทำอย่างไร การปรึกษาด้านกฎหมาย ต้องทำอย่างไร
เราจะทำอย่างไรให้สังคมไทย สามารถที่จะยอมรับสิ่งสำคัญสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น ว่ามันไม่เป็นภัย มันนำไปสู่ประโยชน์ต่อสาธารณะ มันทำให้คนในสังคมประชาธิปไตยสามารถรันไปได้
หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ทั้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องทำประเด็นเรื่องสื่อสาธารณะ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนของกระบวนการยุติธรรม คนที่ต้องการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ทั้งในเรื่องของคนทำที่สื่อ ไม่ว่าคุณจะเป็นสื่อมวลชน ทั้งสื่อกระแสหลัก สื่อมวลชนอาชีพ นักข่าวพลเมือง หรือเป็นประชาชนทั่วไป หนังสือเล่มนี้ถือเป็นคู่มือพลเมือง ที่จะมีสิทธิการมีส่วนร่วม สิทธิในการเสดงความคิดเห็น สิทธิในหารสื่อสารต่าง ๆ” เทวฤทธิ์ กล่าว
มุมมองของนักกฎหมาย
ผศ.เสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เผยถึงความท้ายทายในการร่วมเขียนหนังสือSLAPP ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก คือ นอกจากการนำข้อกฎหมายที่มีอยู่ มาเรียบเรียงให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายแล้ว ตัวกฎหมายเองก็มีความซับซ้อนเช่นกัน
“ความท้ายทายคือเราจะทำยังไงให้ข้อกฏหมายที่มีอยู่ คนทั่วไปอ่านเข้าใจง่าย ในช่วงประชุมร่างคู่มือเราเขียนส่งไปแล้วทุกคนบอกอ่านไม่เข้าใจ เราก็คิดในใจ ทำไมจะอ่านไม่เข้าใจในเมื่อเราเข้าใจ
แต่จากผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว “ก็รู้สึกว่าคู่มือเล่มนี้เหมาะมากๆ อันนี้คือผ่านการกลั่นกรองมาแล้วว่าอ่านง่ายจริง ๆ”
“ในฐานะนักกฎหมายเราไม่รู้ว่าจริง ๆ ว่าทำไมหลาย ๆ คนเขาไม่รู้ เพราะ SLAPP มันมีความท้าทายในเรื่องของบริบทความสีเทา อะไรคือความสีเทา มันเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิ์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใช้สิทธิ์โจทก์มีสิทธิ์ที่จะปกป้องตัวเองในเรื่องของความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกฝ่ายนึงจำเลยก็มีสิทธิ์ที่จะพูดในการปกป้องประโยชน์สาธารณะ
นี่คือความสีเทา เราถึงบอกว่าเรื่องนี้ค่ะมันไม่ใช่ยากเฉพาะตัวคนทำงาน แต่ยากยากไปถึงกระบวนการที่ทำด้วยกระบวนการยุติธรรม” เสาวนีย์กล่าวเสริม