คืบหน้าการทำงานของคณะกรรมการแก้ผลกระทบภาคเกษตรจากโขงผันผวน อนุมัติ 8 โครงการประมง เผยเตรียมหารือ “ระบบติดตามโขงผันผวนมาตรฐาน” จีน-ลาว-ไทย เผยเตรียมจัดประชุม “รับมือโขงผันผวน” ระหว่างหน่วยงานรับผิดชอบประเทศลุ่มโขง ระหว่างประชุมเอเปค ที่ไทยเป็นเจ้าภาพปีนี้

ประชุมครั้งที่ 2 ของปี
วันที่19พ.ค.2565 ที่ผ่านมา อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคการเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/ 2565 เป็นการประชุมแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม 134 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านการประชุมออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วย คณะกรรมการและผู้แทน โดยมี ประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เป็นเลขานุการ การประชุม
โดยที่ประชุมมีมติ รับทราบ 4 เรื่อง ดังนี้
- คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 279/2565 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคการเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง (คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 337/2564 ลงวันที่ 22 เมษายน 2564)
- คำสั่งคณะกรรมการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคการเกษตร จากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ที่ 1/2565 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน (คำสั่งคณะกรรมการบูรณาการฯ ที่ 1/2564 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2564)
- รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

3 ความคืบหน้าประมง
4. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
4.1 รายงานความก้าวหน้าดำเนินการตามแผนพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว
4.2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดำเนินการใน 8 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดเชียงราย
4.3 รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการพลับพลึงธาร เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินกำลังการผลิตของพลับพลึงธารแม่น้ำโขงในแหล่งธรรมชาติ และศึกษาการเพาะขยายพันธุ์พลับพรึงธารแม่น้ำโขงนอกถิ่นที่อยู่อาศัย ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของพลับพรึงธารแม่น้ำโขงหลังนำกลับไปปลูก ทั้งนี้ เริ่มดำเนินการในห้องปฏิบัติการตั้งแต่ เดือนกันยายน 2564 – ปัจจุบัน

อนุมัติ 8 โครงการประมง
ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาหารือในโครงการที่มีผลกระทบสูงต่อภาคประมงจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ ของแม่น้ำโขง ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพระบบนิเวศน์แหล่งปลาหน้าวัดบริเวณแม่น้ำโขง และสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบพร้อมรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุมมาประกอบการดำเนินการ ดังนี้
- ประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัด จำนวน 8 แห่ง และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำมากขึ้น
- มอบหมายฝ่ายเลขานุการ จัดประชุมหารือเพื่อการออกแบบระบบที่มาตรฐานเพื่อแก้ไขรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ของแม่น้ำโขง
- ภายใต้โครงการประกอบด้วย 8 โครงการ ดังนี้
เตรียมหารือ “ระบบติดตามโขงผันผวนมาตรฐาน” จีน-ลาว-ไทย
“แม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ พบได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ นี้ถือเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง
คณะกรรมการฯ ได้เสนอแผนพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการตามแผน เพื่อป้องกันและรองรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงระนิเวศที่เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนริมแม่น้ำโขง
ดังนั้น จึงได้มอบหมาย ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการใน 2 เรื่อง เรื่องแรก จัดประชุมหารือและบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการออกแบบระบบ Monitoring แบบมาตรฐาน ร่วมกันระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ลาว และไทย เพื่อศึกษาและติดตามปัญหาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในลุ่มน้ำโขงที่กระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำโขง และควรออกแบบระบบใหม่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต Next Normal” อลงกรณ์ เปิดเผย
เตรียมคุยเฉพาะกิจ ประเทศลุ่มโขงระหว่าง APEC
“ในโอกาส ปีนี้ เดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสุดยอดผู้นำ APEC นายอลงกรณ์ มอบหมายฝ่ายเลขานุการ ฯ จัดการประชุมหารือคณะกรรมการฯ และหน่วยงานเกี่ยวข้อง (เฉพาะกิจ) ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแม่น้ำโขง พร้อมจัดทำข้อเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข ให้ประเทศไทยเสนอต่อการประชุม APEC เป็นการจัดทำเอกสารระดับผู้นำ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” อลงกรณ์ กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการฯ
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๒ โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค (APEC Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: APEC FCBDM) ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังเอเปค (APEC Senior Finance Officials’ Meeting: APEC SFOM) ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕