เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ แถลงแผนแม่บท ‘แร่’ ฉบับ 2 ส่อซ้ำรอยฉบับเก่า แนวคิด-สาระ-กลไกไม่เปลี่ยน นักสิทธิฯชี้ บทเรียนแผนแม่บท 1 กับ พ.ร.บ.แร่ 60 ไม่ช่วยอะไร กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรังเผยผลกระทบจ่อระเบิด เขาโต๊ะกรัง จ.สตูล

เครือข่ายแถลงคัดค้าน
วันนี้ 2 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 น. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ และองค์กรเครือข่ายฯ จัดเวทีสาธารณะออนไลน์ “ประชาชนเป็นเจ้าของแร่ การบริหารจัดการแร่ต้องมาจากประชาชน”ปัญหาการบังคับใช้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560” เพื่อเสนอแนวทางจัดทำร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2569) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และการแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560
โดยมีภาคประชาสังคม นักวิชาการ และนักกฎหมาย ได้แก่ บำเพ็ญ ไชยรักษ์ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา อับดุลกอฟฟาร์ หลีเยาว์ กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง แววรินทร์ บัวเงิน กลุ่มรักษ์บ้านแหง ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ นักวิชาการอิสระ เอกชัย อิสระทะ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) ร่วมเวที
จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ เปิดเผย แถลงการณ์บนเวที ‘ข้อเสนอต่อการบริหารจัดการทรัพยากรแร่เพื่อก้าวสู่สหัสวรรษแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน’ ซึ่งอธิบายถึงการนำทรัพยากรแร่ ประเภทใช้แล้วหมดไป มาใช้ประโยชน์ต้องคํานึงถึง องค์ประกอบ ปัจจัยและคุณค่าใหม่ ๆ ของสังคม ได้แก่
“ภาวะโลกร้อน การละเมิดสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติผู้ให้กําเนิด อุทยานธรณี (Geopark) พื้นที่เขตสงวนชีวมณฑล ความหลากหลายทางชีวภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทและ ผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปาทาน
กฎหมายแร่ฉบับใหม่ หรือ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติใหม่ ๆ ที่น่าสนใจหลาย ประการที่แตกต่างไปจากกฎหมายแร่ฉบับเก่าเมื่อ 50 ปีที่แล้ว (พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510) ซึ่งวางหลักใน การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของสังคมไทยให้ก้าวสู่สหัสวรรษแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ แม้จะยังเป็น บทบัญญัติที่ไม่สมบูรณ์พอก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่สร้างบันไดขั้นแรกเพื่อนําไปสู่แนวคิดและหลักการ อันยึดโยงอยู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างลึกซึ้งและจริงจังได้มากขึ้นในอนาคต
แต่รัฐไทยโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และคณะกรรมการนโยบายบริหาร จัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ดูเหมือนว่าจะไม่ปรับตัวและพลวัตรตามกฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยพยายามทําทุก วิถีทางที่จะเหนี่ยวรั้งสังคมไทยด้วยการจัดทํา “แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่” แถลงการร์ส่วนหนึ่งระบุ
ปัจจุบัน กพร. และ คนร. ก้าลังดําเนินการจัดประชุมปรึกษาหารือทางเทคนิคในการจัดทํา ร่างแผน แม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่สอง (2565 – 2559) แบบซ้ำรอยเดิม คือ ยกเว้นทุกพื้นที่ที่กล่าวมาให้เป็น เขตแหล่งแร่เพื่อการทําเหมือง ต่อไป โดยไม่สนใจข้อเรียกร้อง คําทักท้วงและวิพากษ์วิจารณ์ของภาค ประชาชนว่าเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายแร่ฉบับใหม่
ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ยังอธิบายอีกว่า เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ได้ให้โอกาสแก่ กพร. และ คนร. มามากพอแล้ว จึงถึงเวลาอัน เหมาะสมแล้วที่จะดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้าน เรียกร้องและฟ้องคดีแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้องเพื่อเอาผิดอย่างถึงที่สุด

นักสิทธิชี้ไม่เรียนรู้ “ความผิดพลาดแผนแม่บทเก่า-พ.ร.บ.แร่ 60”
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มาตรา 17 วรรคสี่ ฉบับล่าสุด เหมือนจะเป็นความหวังของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโครงการพัฒนาเหมืองแร่ภาครัฐ และเอกชน โดยบัญญัติ แหล่งแร่เพื่อการทําเหมืองห้ามใน พื้นที่อนุรักษ์ฯ พื้นที่โบราณสถานและวัตถุ-แหล่งต้นน้ำและป่าน้ำซับซึม-เปราะบางอ่อนไหว แต่กลับกลายว่าขัดกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับที่ 1) ปัญหาคือตัวแผนแม่บทมีการสร้างข้อยกเว้นไว้จำนวนมากทำให้หลายพื้นที่ มีความหวังกับพ.ร.บ.แร่ 2560 ในการต่อสู้กับถูกดรอปลงด้วยแผนแม่บทชุดนี้
จุฑามาส อธิบาย มีปัญหามากในพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือแหล่งน้ำซับซึม เพราะว่าปัญหาของกำหนดเขตแร่เพื่อการทำเหมืองณตอนนี้ยังมีการใช้เขตแหล่งแร่เดิมๆ ไม่มีการสำรวจใดๆ ไม่มีการกันเขตพื้นที่อ่อนไหวออกจากเหมือง ในเขตเหมืองแร่ากพื้นที่ ตามกฎหมายเลยกฎหมายตั้งแต่ปี 60 ตอนนี้ ปี64 แล้ว ก็ยังไม่ถูกบังคับใช้
“เป็นเพราะแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ที่ออกข้อยกเว้น มีการยกพื้นที่เก่าเอามาเล่าใหม่โดยไม่ต้องมีการสำรวจทำตัวเหนือพ.ร.บ.เป็นกำหมายลูก ทำตัวใหญ่กว่ากฎหมายแม่สามารถสั่งได้เลยไม่ต้องทำตามพ.ร.บ.แต่ตอนทำตามฉัน” จุฑามาส กล่าว
เจ้าหน้าที่โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) ยังกล่าวว่า ข้อยกเว้นที่พูดถึง พื้นที่ตามประทานบัตร คำขอต่อประทานบัตร อาชญาบัตร ที่ได้รับอนุญาตหรือยื่นไว้ก่อนพ.ร.บ.แร่ 2560 ให้ถือเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองทั้งหมดเลยตามแผนแม่บทฉบับแรก และพื้นที่แหล่งหินเพื่อการอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างที่มีการประกาศไว้แล้วถูกยกมาเลย โดยไม่พจารณาเลยว่าพื้นที่เหล่านั้นจะมีแหล่งน้ำซับซึม โบราณสถาน หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเรื่องนี้

สร้างปัญหาเพียบในพื้นที่ คนสตูลเผย
อับดุลกอฟฟาร์ หลีเยาว์ กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง เปิดเผยถึงผลกระทบจากพ.ร.บ.แร่ ในพื้นที่ว่า มีการขอประทานบัตรในปี 59 ซึ่งยังเป็นพ.ร.บ.แร่ฉบับเก่า กำหนดให้มีการจัดทำประชาคมแค่ครั้งเดียวซึ่ง ณ ตอนนั้นเวทีของเขาโต๊ะกรัง มันทำไม่ถูกต้องจังหวัดได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง การดำเนินผิด ซึ่งก็ควรจะมีการยกเลิกคำขอนั้นไป แต่พอเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเขาใช้โอกาสพ.ร.บ.แร่ ปี 60 มาบังคับใช้อ้างว่าต้องดำเนินการพ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ พื้นที่เคยขอประทานบัตรไว้แล้วสามารถดำเนินการต่อได้เลย เป็นช่องโหว่กฎหมายที่เอื้อให้กับผู้ประกอบการ
“เราก็เลยต้องมาทำตัวใหม่ ซึ่งเขียนเรื่องการมีส่วนร่วม 2 ข้อ 1 ทำการรับฟังความคิดเห็นโดยให้อุตสหกรรมเป็นคนดำเนินงาน หมายถึงเอาค่าใช้เองทั้งหมด 2 ผู้ขอเป็นเข้าร่วมเฉยๆ ถ้าเกิดการรับฟังความคิดเห็นด้วยก็หมดไป ถ้าไม่เห็นด้วยก็ต้องวินิจฉัยให้ได้ข้อยุติ ถ้าไม่ก็ทำประชามติ เป็นประเด็นน้ำผึ้งหวานแต่ใส่ยาพิษ ประชามติทำโดยผู้ประกอบการโดยออกค่าใช้จ่ายทั้งก็เหมือนการเลือกตั้งใครมีตังค์มากก็ได้ไป” อับดุลกอฟฟาร์ กล่าว
จังหวัดสตูล หรือเขาโต๊ะกรังถูกประกาศเป็นเขตแหล่งแร่ เมื่อปี 2540 แต่ติดเรื่องธรณีวิทยา ภายหลังอุตสาหกรรมจังหวัดรับขอประทานบัตรต.ควนโดน อ.ควนโดน หรือ ภูเขาจำนวน 3 ลูกใน 4 อำเภอเมื่อปี 2559 โดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่เมื่อวันที่ (17 เมษายน 61) ยูเนสโก้รับรองคุณค่าทางธรณีวิทยาบนแผ่นดินสตูลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีระดับโลก หรือ Geo Park
ซึงภูเขาบางลูกในกลุ่มเขารูปช้างที่ตั้งอยู่ใน อ.ควนโดน และ อ.ควนกาหลง ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณ และซากโครงกระดูกมนุษย์ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 3-5 พันปี โดยคณะศึกษาด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อหลายปีก่อน และยังเชื่อว่าในกลุ่มเขาเหล่านี้ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ยังรอการศึกษาอยู่อีกมาก และหนึ่งในภูเขาเหล่านั้น คือเขาโต๊ะกรัง ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการขอประทานบัตรระเบิดหินอุตสาหกรรม ทั้งที่มีการทักท้วงของชาวบ้าน และคนสตูลที่ห่วงกังวลต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง อธิบายอีกว่า ผลกระทบระหว่างการเปลี่ยนแปลงสอง พ.ร.บ.อย่างชัดเจน ตัวพ.ร.บ.ใหม่ก็มีผลต่อร่างแผนแม่บทฉบับแรก ยิ่งมีปัญหาใส่ข้อยกเว้นมากมาย ใช้ประกาศแหล่งแร่ฉบับเดิมที่ประกาศไปแล้วใช้ตัวนั้นโดยไม่มีการปรับพื้นที่ สำรวจพื้นที่ใหม่ พ.ร.บ.ทั้งสองตัว 2510 กับ 2560 มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแค่เปลี่ยนจากดาบมาเป็นกระบี่ซึ่งดูเหมือนเป็นของพระเอก ที่เหลือก็เหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 ก.ย.-1 ต.ค.2564 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ การประชุมปรึกษาหารือทางเทคนิค (Technical Meeting) สำหรับการนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2565-2569 ขณะที่เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ คัดค้านยกเลิกการบริหารจัดการแร่ฉบับแรก เป็นเวลากว่า 9 เดือน ยังไม่ได้รับคำตอบจากภาครัฐแต่อย่างใด และขอคัดค้านประชุมหารือแผนแม่บทฉบับ 2