“อาการยังน่าเป็นห่วง” กลไกสากลปกป้องสิทธิมนุษยชนภาคธุรกิจในอาเซียน NAP

เผยสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง สำหรับ NAP หรือ แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งยูเอ็นออกแบบให้เป็นกลไกที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจระดับสากล 

“ก้าวหน้าน้อยมาก” สถานการณ์ภาพรวมในอาเซียน UNEP เผย ขณะที่ภาคประชาสังคมเผยในไทย “ยังกว้างเกินกว่าจะนำไปปฏิบัติได้จริง” และในอินโดฯ “ภาคประชาสังคมยังไม่สารถมีส่วนกระทั่งการร่วมร่าง”

พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายเฟสแรก (ภาพ : วิชัย จันทวาโร)

NAP ในอาเซียน : เก้าปีแห่งความก้าวหน้าน้อยมาก 

เมื่อ (30 กันยายน 2564) ใน MAEW 2021- Mekong Asean Environmental Week งานเสวนาออนไลน์ สัปดาห์สิ่งแวดล้อมอาเซียนในหัวข้อ “จะนำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนไปใช้อย่างไรเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม” โดยมีองค์กรที่เข้าร่วมอภิปราย ได้แก่ ETOs Watch IDEALS ฟิลิปปินส์ UNEP มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนไทย และ ELSAM อินโดนีเซีย

ลิวิโอ ซารานเดรีย หัวหน้าฝ่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เปิดเผย องค์กรสหประชาชาติ UNEP และหน่วยงานเกี่ยวข้อง มีความพยายามพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน NAP ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 8-9 ปี ภูมิภาคอาเซียนเกิดสถานการณ์สำคัญเรียกร้องให้บรรษัทเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งในสหภาพยุโรปได้พูดเรื่องความรับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน ความท้าทายการใช้ NAP จะเข้ามาทำให้ภาคธุรกิจดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น 

“ยังมีบรรษัทหลายบริษัทที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน NAP เป็นเครื่องมือที่สำคัญกับรัฐบาล รับรองโดยเอกฉันท์ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ โดยมีหลักการ 3 เสาหลัก การคุ้มครอง เคารพ การเยียวยา แต่ธุรกิจควรทำอะไรบ้าง แทนที่จะทราบสถานการณ์ว่าธุรกิจละเมิดสิทธิมนุษยชนตัวเองอย่างไรโดยการตรวจสอบกระบวนการผลิตของตัวเอง 

ระดับอาเซียนในไทยมี NAP แล้ว อินโดนีเซีย กำลังพัฒนาอยู่ และบางประเทศอาจจะมีการใช้ชื่ออื่น เรียกยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ถือว่าเป็น NAP ที่ใช้เวลาพัฒนากว่า 4 ปี ประเทศมาเลเซีย มีกระบวนการใช้ NAP อย่างน้อย 3 ครั้ง รัฐบาลพยายามปรับใช้เมื่อ 1 ปีที่แล้ว 

ตอนนี้กำลังประเมินแผนมาเลเซียอยู่ เวียดนามมีใช้อยู่ที่ไม่ได้เรียกว่า NAP แผนที่ยังคงใช้ยึดหลักการของว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศเมียนมาร์ บอกว่าจะมีการพัฒนาNAP หลังจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่ความก้าวหน้าพอสังเกตได้ ” ซารานเดรีย กล่าว

อีกทั้งหัวหน้าฝ่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ อธิบายถึง  NAP สามารถช่วยออกแบบอาเซียนใหม่เป็นความพยายามครั้งใหญ่ NAP สามารถมีบทบาทที่ทำให้เกิดยุทธศาสตร์หลอมรวมประเทศอาเซียนได้ด้วยกัน ความสอดคล้องระหว่างนโยบายของรัฐอาเซียน ว่าเรามีการพัฒนาNAP ในประเทศมากกว่า 1 ประเทศ ก็สามารถพัฒนากระบวนการเหล่านี้ ข้ามพรมแดนปกติอยู่แล้ว ส่วนมาก NAP พูดถึงสถานการณ์แต่ละประเทศอยู่  และจะพูดถึงการลงทุนข้ามชาติด้วย 

“ความท้าทายในการใช้ NAP ระดับอาเซียน ประเด็นแรกรัฐต้องปกป้องประชาชน คุ้มครองไม่ให้ถูกคุกคามจากบริษัท ผมเชื่อว่าเราควรมีการดำเนินการจากรัฐบาลส่งสัญญาณเรียกร้องให้บรรษัทเคารพพันธกรณี ทางด้านสิ่งแวดล้อม 

พื้นที่อาเซียนมีกระแสการลงทุนในสหภาพยุโรป ในเรื่องห่วงโซ่อุปทานที่ต้องเคารพด้านสิ่งแวดล้อมเพราะซึ่งสหภาพยุโรป กำลังจะมีระบบห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน กำลังเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้ขายสินค้าไปยังสหภาพยุโรป ตรวจสอบ Supply Chain ของตนเพื่อสามารถส่งสินค้าขายได้ไม่ว่าจะเป็นประเทศ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย” ซารานเดรีย กล่าว

(ภาพ : Maew 2021)

NAP ไทย : กว้างเกินกว่าจะนำไปปฏิบัติได้จริง

กรกนก วัฒนภูมิ สมาชิกคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดนไทย ETO Watch อธิบาย บรรษัทจากประเทศไทยได้มีการลงทุนต่างประเทศมากมาย เช่นกรณี เขื่อนไซยะบุรี ประเทศลาว โรงงานน้ำตาล ประเทศลาว เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ประเทศเมียนมาร์ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการใช้กลไก NAP แล้ว แต่การเชิงปฏิบัติยังพบปัญหา

“กรณีที่มีการลงทุนข้ามพรมแดนเพื่อให้ประชาชนได้มีรับค่าเยียวยา ทุกวันนี้ ยังขาดความรับผิดชอบในเรื่องคุ้มครองและการเยียวยา ประเทศไทยมีปัญหาด้านกฎหมาย NAP และการปฏิบัติใช้จริง ข้อเสนอ NAP มันกว้างเกินไปไม่สามารถมาใช้ทำจริง 

ซึ่งมีเพียงแค่กลไกบทบาทของรัฐ โดยไม่มีกลไกรับผิดชอบอย่างเพียงพอ เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติการ NAP ตุลาการอาจจะมีกระบวนการการพิพากษา กรณีคดีเขื่อนปากแบง ไม่ได้มีกระบวนการ EIA ใน NAP ให้มีกระบวนการ EIA แต่กฎหมายไทยไม่ได้กำหนดไว้ ควรจะมีกลไกกำกับดูแลทั้งนโยบายสิ่งแวดล้อมและดำเนินการเสียหาย ในทุกวันนี้ เป็นกลไกภาคสมัครใจเนื่องจากมีปัญหา ไม่สามารถใช้ปฏิบัติได้” กรกนก กล่าว

สมาชิกคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดนไทย ETO Watch กล่าวถึงข้อเสนอ ให้การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย จริงๆแล้วประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมถึงมีส่วนร่วมประชาชนก็คงไม่ดังพอ ประเทศบริษัทที่ลงทุนได้มีสัญชาติได้ยังไง ทำไมในประเทศไทยชุมชนได้รับผลกระทบ นักปกป้องสิทธิฯไม่มีเสียง บทบาท รัฐน่าจะมีกลไกตรวจสอบติดตามสถานการณ์เพราะว่าบางเรื่องเราจำเป็นต้องเปลี่ยนทันทีไม่ควรรอ NAP ควรจะมีกฎหมายกำกับการลงทุนข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ช่องว่างกฎหมายประเทศข้างบ้าน NAP ป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียไว้ก่อน

กลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชนภาคบังคับควรนำมาใช้ในประเทศไทย การเยียวยา มักมีปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เรามีความคืบหน้าจากตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย ได้มีการพัฒนา การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล จึงนับได้ว่า เป็นความคืบหน้าจากกลไก เรื่องจากไม่มีกลไกตรวจสอบติดตามภาคเอกชน ภาคประชาสังคมจึงมีการตรวจสอบกันเองปีนี้ในเดือน พฤศจิกายน จะนำข้อเสนอกระบวนการ NAP

(ภาพ : Maew 2021)

NAP อินโดนีเซีย : ประชาสังคมไม่ได้ร่วมร่าง

แอนดี มุตตาเคียน รองผู้อำนวยการองค์กร ELSAM อินโดนีเซีย อธิบาย การดำเนินงานสิทธิมนุษยชน องค์กรก็มีปัญหาเรื่องกรอบการทำงานกับรัฐบาล และพบปัญหาการละเมิดด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทุกวันนี้จำนวน 60 เคส มีการใช้ความรุนแรง

“แม้ว่าประชาชนกลายเป็นผู้เสียหาย การลงทุนและมีความขัดแย้งอุตสาหกรรมเกษตร เป็นเหยื่อความรุนแรง ถึงกับเสียชีวิต ตอนนี้เราก็ได้มีความพยายามที่จะมีส่วนร่วมตรวจสอบกระบวนการ NAP หนึ่งในกระบวนการหลักการชี้แนะ เราหวังว่า NAP ควรข้อพัฒนาข้อเสนอแนะและจริงจรัง ต่อรัฐเพื่อลดความรุนแรงนักปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่สำคัญ ประชาชนสามารถใช้หลักการนี้ 

ในฐานะเครื่องมือและพื้นที่เราได้ดำเนินมาตั้งแต่ 2015 ดูเรื่องหลักการชี้แนะแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสาที่ 3 เรามีทั้งกลไกที่เป็นตุลาการ และนอกตุลาการนอกเหนือกลไกภาครัฐ UNEP มา 10 ปี ได้มีความพยายามปรับปรุงกลไก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ELSAM เรายังทำงานรณรงค์ในเวทีต่าง

ยุทธศาสตร์นี้มีกิจกรรมหลากหลาย อินโดนีเซียกำลังมีแผนพัฒนาNAP เราได้มีการจัดเวทีหารือสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ก็ยังอยู่ในช่วงการร่างพัฒนาแผน ถึงแม้ภาคประชาสังคมไม่ได้มีส่วนร่วม ก็ได้มีการจัดเวทีการหารือ ช่วงกลางเดือน ตุลาคม แต่เจ้าหน้าที่ในระดับกระทรวงเมื่อสิ้นสุดกระบวนการจะมีการนำร่างมาเผยแพร่เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม มีส่วนร่วม” แอนดี กล่าว

องค์กร ELSAM อินโดนีเซีย ยังอธิบายอีกว่า แต่ว่าเรายังไม่มีการเห็นร่าง เราเข้าใจว่ากิจกรรมที่สำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันเรายังไม่รู้เลยว่า อุตสาหกรรม ภาคอื่น ควรจะมีข้อเสนอแนะจากรัฐบาลนอกเหนือจากภาคธุรกิจ การพัฒนาNAP มีอุปสรรคอะไรบ้าง ในการนำเสนอรอบนี้