สถานการณ์แย่งยืดที่ดินในสามประเทศอาเซียนยังวิกฤตต่อเนื่อง พร้อมแนวโน้มเชื่อมโยงการลงทุนข้ามแดน ตัวแทนเครือข่ายประชาสังคมอาเซียนเผยอาจถึงเวลาต้องจับมือร่วมกันแก้ “ข้ามแดน”

สถานการณ์และวิกฤต
วันนี้ (27 กันยายน 2564) เวลา 09.30 น. MAEW 2021- Mekong Asean Environmental Week งานเสวนาออนไลน์ สัปดาห์สิ่งแวดล้อมอาเซียนในหัวข้อ “หลากรูปแบบของการแย่งยึดที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ดำเนินรายการโดย เอียง วุดที Equitable Cambodia และผู้เข้าร่วมเสวนาจาก People Before Profit (PBP) SUARAM Malaysia นักวิจัยเรื่องที่ดินจาก Equitable Cambodia กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน Land Watch ร่วมอภิปราย
เอียง วุดที Equitable Cambodia อธิบายว่า 3 ประเทศ กำลังเผชิญการแย่งยึดที่ดินที่หลากหลาย ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ธนาคารโลก หรือธนาคาร ADB จัดโครงการสินเชื่อรายย่อย ส่งผลให้ชาวบ้านเป็นหนี้สิน บีบให้ต้องขายสูญเสียที่ดินของตัวเอง ผลจากออกกฎหมายที่ดินสนับสนุนให้นักลงทุนตั้งแต่ปี 2001
ประเทศมาเลเซีย รัฐบัญญัติจัดสรรที่ดินชนเผ่าพื้นเมือง กฎหมายบัญญัติที่ดินที่ไม่มีโฉนดตกเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่ได้คำนึงสิทธิในที่ดินของชนเผ่าพื้นเมืองพื้นที่ดินบรรพบุรุษภายหลังออกสัมปทานให้กับบริษัท-นักลงทุน และประเทศไทย ผลกระทบจากนโยบายการจัดการที่ดินเขตป่า กฎหมายมีความเข้มงวดมาก สร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างทหารกับชาวบ้าน มีการฟ้องร้องชาวบ้านถึง 2 หมื่นคดี เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
“มันจำเป็นต้องมีความพยายามร่วมกัน ในระดับภูมิภาค เพราะว่าปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาข้ามพรมแดน เรามีองค์กร NGO ในระดับท้องถิ่นที่พยายามทำงานเรียกร้องความรับผิดชอบของนักลงทุน และบริษัทเอกชน ในทุกแห่ง จำเป็นต้องร่วมมือกันระหว่างประชาชน ต่อองค์กรที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อที่จะปกป้องสิทธิที่ดินของเรา และสิทธิมนุษยชนของเรา นั้นคือข้อสรุปของผมนะครับ” เอียง กล่าว
ผู้ดำเนินรายการ และเจ้าหน้าที่ Equitable Cambodia อธิบายในช่วงท้ายของเวทีอภิปราย ต้องมีการแก้ไขทบทวน ระบบการจัดสรรที่ดิน ผมคิดว่าทุกแห่งเลยต้องมีการปฏิรูป ปรับปรุงเกี่ยวกับกฎหมายการจัดสรรที่ดิน โดยจะต้องมีกรรมการ ผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลเพื่อรัฐบาลกลาง ท้องถิ่น ไม่ได้มีอำนาจสูงสุดในการที่จะเข้ามากำกับ ควรจะมีคณะกรรมการที่จะทำหน้าที่นี้ขึ้นมา ที่สามารถรับฟังข้อคิดเห็น รับเสนอจากประชาชนได้

ข้อเสนอ “ความร่วมมือข้ามแดน”
พรพนา ก๊วยเจริญ กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน Land Watch เปิดเผยว่า มันยากมากสำหรับชาวบ้านในแต่ละประเทศ เพราะว่าสถานการณ์ที่ดินนี้เราได้พูดกันมา 10 ปีแล้วในเรื่องของระหว่างประเทศ ในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงสองปีที่แล้วมีการประชุมกันพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์
“เราคิดว่ามันควรจะต้องมีการพูดคุยหัวข้อใหม่ความท้าทายเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ดิน ว่ามันมีความท้าทายอะไรที่เราจะสามารถพูดคุยกันได้ ดิฉันคิดในช่วงการประชุมของ MAEW Mekong Asean ครั้งต่อไป วางกระบวนการพูดคุยในประเทศที่เกี่ยวข้องที่ดิน ซึ่งเราจะต้องแบ่งปันสถานการณ์และท้าทาย แต่ละประเทศเจอและความท้าทายระหว่างประเทศด้วย คืออะไร ข้ามพรมแดนคืออะไร เพราะว่าจะต้องมีการพูดคุยกันอย่างลงลึก เพื่อเจาะประเด็นความท้าทายที่เรากำลังประสบอยู่หาข้อทางออกร่วมกัน” พรพนา กล่าว
สุเรช บาละสุบรามาเนียม People Before Profit (PBP) SUARAM Malaysia เปิดเผยว่า การแย่งยึดที่ดินมันกำลังเกิดขึ้นในชุมชนพื้นเมืองมาเลเซีย หลายชุมชนทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก เพราะว่ามีชนพื้นเมือง เรามีเกษตรกรมี และมีปัญหาของชุมชนเมืองด้วย
“การที่จะช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่ได้ถูกแย่งยึดที่ดิน สามารถที่จะต่อสู้หรือคัดค้านได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาร่วมมือ รวมตัวกัน เพราะว่าเราไม่สามารถต่างคนต่างทำ เราจะต้องมีเครือข่ายระหว่างชุมชนที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ และชุมชนเหล่านี้จะต้องพูดคุย แล้วก็ต้องร้องเรียนต่อรัฐท้องถิ่น แต่ละรัฐมาเลเซีย
เพื่อขอให้แก้ไขปัญหา รัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน การจัดสรรที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาของเขา มันจะไม่ได้ต้องให้ปล่อยให้แต่ละชุมชนต่อสู้กันเอง จะต้องมีความรวมกันเพื่อสร้างเครือข่ายที่ดินสัมพันธ์กัน เพื่อแก้ไขรัฐบัญญัติ กฎหมายการแก้ไขจัดสรรที่ดิน เพื่อให้ตระหนักยอมรับการที่ดินบรรพบุรุษของเขา นี้คือหนทางที่จะหยุดการแย่งยึดที่ดินในมาเลเซียได้” สุเรช กล่าว
สอง ดานิก นักวิจัยเรื่องที่ดินจาก Equitable Cambodia อธิบาย ข้อเสนอแนะจากชุมชนกัมพูชา ที่ได้จากข้อเสนอแนะจากทางผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้อง นายทุนต่างชาติหรือเจ้าหน้าที่ในกัมพูชา เพื่อที่จะมามีการตรวจสอบค้นหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“เนื่องมาจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อย จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มันควรจะมีเจ้าหน้าที่มาจากการสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก หรือ ADB เข้าร่วม แล้วประเด็นที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย จะต้องไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ตอนนี้ ก็ควรจะมีกระบวนการผ่อนผัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ของผู้ที่เป็นหนี้ปัจจุบันนี้ให้ได้มิเช่นนั้น มันก็จะก่อปัญหาเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติม เช่นเด็กจะต้องออกจากโรงเรียนเป็นต้น” นักวิจัยเรื่องที่ดินจาก Equitable Cambodia กล่าว
