“อุตสาหกรรมไทยจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2070” รมว.พลังงานประกาศ

ประกาศผ่านปาฐกถาเวทีสัมมนานักอุตสาหกรรมไทย Energy Sympossium 2021 “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน ย้ำความท้าทายใหม่ภาคอุตสาหกรรมไทยคือ ข้อตกลงสากลเรื่องโลกร้อน ว่าด้วย “เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์” ซึ่งล่าสุดไทยตกลงที่จะตั้งเป้าไว้ที่ปี 2065-2070 (พศ.2608-2613)

คำต่อคำ นโยบายอุตสาหกรรมไทยล่าสุด จากปาฐกถาของรมว.พลังงาน ว่าด้วยการต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมระดับโลกของภาคอุตสาหกรรม และทิศทางอนาคตที่จะมุ่งสู่ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาด

เอกสารประกอบเวทีเสวนา

(ภาพ : RYT9)

คือความท้าทายใหม่ ที่อุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัว

“แสดงความยินดีกับสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม ที่มีการจัดงานเสวนาประจำทุกปี วันที่ 9 เดือนกันยายน เราใช้สื่อออนไลน์กันเป็นการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะก้าวสู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความยั่งยืนที่เรียกว่า Energy Transition To Sustainability จัดทุกปี ครั้งที่ 16 เป็นความร่วมมืออันดีของสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกระทรวงพลังงานเพื่อเป็นการส่งเสริมประเทศไทยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

ผมก็ต้องเรียนทุกท่าน เข้าใจดีช่วงยามวิกฤตครั้งนี้ ทุกคนก็ต้องปรับตัว เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมต่างๆก็ต้องปรับตัว เพราะทุกอุตสาหกรรมต้องใช้พลังงาน การปรับตัวไม่ใช่เพียงแค่โควิด-19 อย่างเดียว ถ้าเราตามเรื่องวิถีของโลกมีการพูดภาวะโลกร้อนมากขึ้น ทุกประเทศที่สำคัญๆ ในภาคตะวันตก กล่าวถึงการลดก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้สุทธิเป็นศูนย์ 

“ช้าหน่อย แต่ต้องถึง” ประกาศเป้าหมายภายใน 2065-2070

“ในหลายประเทศ บางประเทศก็ประกาศในคริสต์ศักราช 2050 บ้าง 2060 บ้าง ที่จะทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลงเหลือที่สุทธิเป็นศูนย์ 

ซึ่งเป็นความท้าทายเพราะว่าในปัจจุบันก็ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอยู่ในระดับที่สูง เขาเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำ อุณหภูมิที่กำหนดไม่ให้เกิน 2 องศา วันนี้ผมเข้าใจว่าในสิ้นปีนี้ที่จะมีการประชุม COP 26 ที่ประเทศอังกฤษ ก็จะมีการพิจารณาที่จะมุ่งเป้าไปที่ 1.5 องศา ความท้าทายก็จะมีมากขึ้น ซึ่งอันนี้จะมากระทบกับเราทุกคน 

ต้องยอมรับนะครับว่าภาคอุตสาหกรรม เราก็เป็นภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ และก็มีซัพพลายเชน (Supply chain) ห่วงโซ่การผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การใช้พลังงานแนวโน้มกฎกติกาที่ผมได้กล่าวมา ถ้าประเทศตะวันตกเขาจะมุ่งเป้าในเรื่องของก๊าซเรือนกระจกจริงจรัง ก็จะกระทบกับพวกเรา กฎกติกา รัฐบาล กระทรวงพลังงาน ก็ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่จะมุ่งเป้าลดคาร์บอนให้สิทธิเป็นศูนย์ เราคงจะใช้เวลาสักหน่อย เราคงยังทำไม่ได้ภายใน 2050 นะครับ แต่มุ่งเป้าไว้ที่ 2065 – 2070 ในช่วงเวลานี้นะครับ ก็เป็นปี คริสต์ศักราช ” สุพัฒนพงษ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน”

(ภาพ : unsplash)

“30/30” ทางเดินสู่ความเป็นไปได้ ด้วยวิถียานยนต์ไฟฟ้า

“ตรงนี้เองก็เป็นเป้าหมาย วิธีการ ก็จะเน้นในการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น แทนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ปรับสัดส่วนให้มีสูงขึ้น 50 % แล้วก็มีการส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้านะครับ ก็แบบค่อยเป็นค่อยไป 

ในส่วนของแผนพลังงานชาติ ก็เพิ่มความท้าทายมากขึ้น ปรับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน คือตั้งเป้าไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ ก็ช่วยกันทำให้มากกว่านี้ มีเรื่องนำวิทยาการอื่นๆ เพื่อการขยับพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางภาคพลังงานลดลง 

แล้วก็วันนี้เองกระทรวงพลังงานก็ร่วมมือทางกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อมุ่งเป้าดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง โดยมุ่งเป้าที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนของพลังงานให้เป็น ศูนย์ในปี 2065 – 2070 ที่ผมเรียนไป 

ทางกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสงวนในเรื่องของการทำเรื่องคาร์บอนซิงค์ (Carbon Sink) ก็คือการปลูกป่า ก็จะมีพื้นที่ปลูกป่าที่สูงมากขึ้นตลอดระยะเวลาถึงเป้าหมายของเรา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาอีก 40-30 ปีต่อจากนี้ แต่เราก็มี RoadMap ของเราทำไป อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ซึ่งไว้โอกาสหน้าผมเองก็จะมาเล่ารายละเอียด

หลายท่านคนทราบกันดีในเรื่องขอยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ ว่าเรามีแผนที่จะผลิตอย่างไรแล้วก็นโยบาย 30/30 ของเราที่จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2030 ประมาณสัก 9 ปี หลังจากนี้ ประมาณการเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด”  

Carbon Neutrality คือโอกาสและอนาคตอุตฯ ไทย

“อย่างที่ผมเรียน ค่อยเป็นค่อยไป ตรงนี้ก็กระทบพวกเรา ต้องปรับตัว เพราะสังคมโลกปรับแล้วเขาสร้างกติกาใหม่เกิดขึ้น ผมมั่นใจว่าพวกเราทำได้ ทางสภาอุตสาหกรรม สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ก็น่าจะทำได้ แล้วทำได้ดีมาโดยตลอด

ในเรื่องการผลิตพลังงาน เป็นการเสริมโอกาสให้กับพวกเรา ถ้าเราทำได้ดีต่อไปในนี้ ก็จะเป็นกติกาที่จะช่วยให้พวกเราสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลได้มากขึ้น เพราะประเทศใด หรือ อุตสาหกรรมใด หรือผู้ผลิตใด สามารถที่จะคอมพลายนะครับ ทำให้เป็นไปตามกติกาสังคมโลก ก็จะได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ เพราะในอนาคตจะมีกติกาเยอะเลย ถ้าผู้ผลิตใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะก็จะมีต้นทุนเรื่องพวกนี้อยู่ด้วย 

ลองนึกภาพนะครับ วันนี้เราปล่อย อีกไม่นานเราก็จะปล่อยตัวเลขกลมๆ 400 ล้านตันต่อปีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรามี Contingent Liabilities ในอนาคต สูงขึ้นหลายแสนล้านบาทเลย เราเอาค่าคาร์บอนแท็ก Carbon tax มาหรือคาร์บอนเครดิต Carbon credit มาคำนวณดูก็ได้ หลายแสนล้าน 3 ถึง 4 แสนล้านบาท ตรงนี้จะเป็น liability ในอนาคต เวลาจะค้าขายอะไร ก็จะมีกติกาใหม่ที่มากระทบในต้นทุนเหล่านี้ด้วย 

เราเริ่มตั้งแต่วันนี้ เราก็จะสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ในส่วนของกระทรวงพลังงานที่เราตัดสินใจเดินหน้าให้มี carbon neutrality การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งเป้าที่จะให้มีพลังงานสะอาดมากขึ้นที่จะสนับสนุน ภาคอุตสาหกรรม นอกจากท่านจะได้ทำในสิ่งที่เรียกว่าการลดการใช้พลังงานอย่างประสิทธิภาพ ตามเป้าหมายที่พวกเราตั้งเป้าไว้ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ 

เราจะส่งเสริมให้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานต่างๆ ให้เป็นพลังงานสะอาดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทำให้ที่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาใช้พลังงานน้อยลด ใช้พลังงานที่นำมาใช้เป็นพลังงานสะอาด ตรงจะทำให้เป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ไลน์การผลิตลงได้มาก นี้คือสิ่งที่รัฐบาลได้เตรียมการที่จะทำ 

นอกจากนั้นเองผลบวกอีกทางหนึ่ง ถ้าประเทศไทยเราประกาศตัวและมีจุดยืนเช่นนี้ ก็จะเป็นจุดสนใจของนักลงทุนต่างประเทศที่จะมาลงทุน เพราะเขาถือว่าการลงทุนต่างประเทศจะนับรวมทั้งหมดเลยทุกบริษัทในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกที่บริษัทมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกที่ Aggressive ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตาม 

เพราะฉะนั้นเขาต้องเลือกประเทศที่เอื้ออำนวยให้มีส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเขาทำได้สำเร็จ นี้คือทิศทางที่รัฐบาลจะเดินไป ที่ต้องการประกาศสำคัญมากในจุดยืนว่าเราจะมุ่งเป้าไปที่ 2065 – 2070 พอดึงดูดตรงนี้ เป็นการสร้างโอกาส ให้พวกเรามีอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ผลพวงจากยานยนต์ไฟฟ้าก็ยังมีอื่นๆอีกด้วย Smart Electronic มีอะไรต่อมิอะไรตามเข้ามา” สุพัฒนพงษ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน กล่าว  

(ภาพ : unsplash)

ต้องเตรียมรับ-ปรับตัวตั้งแต่วันนี้ แม้กลางวิกฤตโควิด

“อันนี้จะเป็นโอกาสให้กับพวกเราทุกคน ในหมู่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย เราต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ 

เราเห็นสัญญาณบวกขึ้นมา การขอรับการส่งเสริมขอรับการลงทุนในปี 2564 ถึงแม้จะเป็นปีที่เรารู้สึกยากลำบากในเชิงการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด -19 และสายพันธุ์ใหม่อย่างเดลตาก็ตาม ปรากฏว่าในครึ่งปี 2564 เขารับการส่งเสริมการลงทุน มีสูงขึ้นมีสูงขึ้นใกล้เคียงกับปี 2563 ทั้งปี จากนโยบายของรัฐบาลจะทำทุกอย่าง จะขอรับการส่งเสริมให้มีการลงทุนอย่างแท้จริงที่มีมากขึ้นทำให้เกิดความมั่นใจในการลงทุน พวกเราจะได้ประโยชน์จากการที่มีคู่ค้า หรือเราไปอยู่ในส่วนหนึ่งห่วงโซ่ของการผลิตของทางอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้น ที่จะขอรับการลงทุนก็เป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ  Smart Electronic  

แนวโน้มในอนาคตมีเรื่องของดิจิทัลจะตามมา มีเรื่องของอะไรมิอะไรต่ออะไรตามมาอีกด้วย ตรงนี้ก็เชื่อได้ว่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคนๆ แต่พวกเราเตรียมตัว สนใจ ศึกษาในส่วนของการประหยัดพลังงานและลดการใช้พลังงานในระบบของเราให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 

รัฐบาลมีหน้าที่จะช่วยไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทั้งเรื่องของการโคเพย์ (Co-pay) ในส่วนของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ที่ให้พวกเราได้ลดต้นทุนและลดการใช้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนพลังงานสะอาดก็จะเพิ่มมากขึ้นอยากให้พวกเราทุกคนเล็งเห็นโอกาสตรงนี้  

ถึงแม้ว่าในยามนี้จะเป็นยามวิกฤตก็ตาม กระผมต้องชื่นชมผู้ประกอบไทยทุกคน เรายังมีความสามารถ เรายังสามารถรักษาการผลิต เสถียรภาพของเราการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเป็นกำลังพลังสำคัญให้เศรษฐกิจในประเทศไทย ถึงแม้ว่าการอุปโภค บริโภคในประเทศจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องมีการออกมาตราเข้มงวดต่างๆ ดูแลควบคุมการระบาด 

แต่ก็เชื่อว่าไม่นานจากนี้รัฐบาลจะมีคลายมาตรการ ที่จะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น และดีขึ้น ในที่สุดในระยะยาวเชื่อได้ว่า เราจะกลับมาใช้ชีวิต อย่างปกติใกล้เคียงกับสมัยที่ ก่อนโควิด – 19 โดยเร็วการจัดการหาวัคซีนต่างๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการที่จะทำให้เกิดการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นใจลูกค้าที่ซื้อสินค้าเข้าอุตสาหกรรมต่างๆก็มีมากขึ้น ตามลำดับที่เป็นข่าวที่ประกาศออกไป 

โดยสรุปแล้วก็ต้องชื่นชม สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ปีนี้ก็ปีที่ 16ดูแลให้ความรู้กับสมาชิกทุกคนในสภาอุตสาหกรรมได้เรียนรู้ ปรับปรุงตัวเองให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน เพิ่มสร้างศักยภาพการแข่งขันสมาชิกทุกๆคน และยังเชื่อมั่นเสมอว่า การที่พวกเราทุกคนร่วมไม้ร่วมมือ แลกเปลี่ยนให้ความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นคุณค่าที่จะรักษาความมั่นคงของอุตสาหกรรมไทยไว้ได้ตลอดไป” สุพัฒนพงษ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน กล่าว