นอกจากมลพิษที่ก่อขึ้นเองในพื้นที่ จนทำให้สัดส่วนจุดก่อมลพิษ hotspot ต่อพื้นที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือ จังหวัดเล็ก ๆ อย่างลำพูนยังรับมลพิษอย่างเลี่ยงไม่ได้จากจังหวัดใหญ่ข้างเคียง รวมถึงมลพิษข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน เหตุเพราะสภาพภูมิประเทศเอื้อ ด้านภาครัฐ-วิชาการ-ประชาสังคมเร่งหาทางออก ท่ามกลางข้อจำกัดด้านงบประมาณ
-
(ภาพ:สํานักข่าวกรมประชาสัมพันธ์)
วิกฤตไม่ต่างกัน “บ้านก้อ-ลี้” หนักสุด
สัญญา ทุมตะขบ ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูนเปิดเผยถึงวิกฤตมลพิษอากาศ ฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดลำพูนนั้นอยู่ในระดับวิกฤตไม่ต่างจากเชียงใหม่
“ข้อมูลจาก Gistda ดาวเทียม VIIRS ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ปี 64 มีอยู่ 39 วัน ค่าเกินมาตราฐานสูงสุดอยู่ที่ 102 ไมโครกรัม ปี 36 วัน ค่าเกินมาตราฐานสูงสุดอยู่ที่ 101 ไมโครกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 โดยคุณภาพอาการที่เริ่มมีผลกระทบต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ทั้งหมดเกิดในกลางเดือนกุมภาพันธุ์ – กลางมีนาคม
เป็นเช่นนี้มาทุกปี ตั้งแต่อยู่เชียงใหม่มีคนมาบรรยายแบบนี้ตั้งแต่เรื่องหมอกควัน ตั้งแต่ปี 50 เห็นวิจัยจากอาจารย์หลายๆแหล่งก็ได้คำตอบโดยชัดเจนว่า เกิดช่วงเวลานี้ที่มีการเผาไหม้สูง ฝุ่นละอองตั้งแต่ Pm10 อัตราย ตอนนี้ Pm2.5 Pm1 ก็อันตรายลึกขึ้นไปอีก สรุปภาคเหนือ และจังหวัดลำพูน เกิดในกลางเดือนกุมภาพันธุ์ – กลางมีนาคมเช่นกัน” สัญญากล่าวระหว่างเวทีออนไลน์ “ฝุ่น ฟ้า ลม ไฟ เมืองลำพูน” ครั้งที่ 1 จัดโดยสภาลมหายใจลำพูนเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
ตำบลบ้านก้อ อำเภอลี้คือพื้นที่ความเสี่ยงสูงที่สุดของจังหวัด จากการติดตามข้อมูลสถานการณ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมระดับสูงของจังหวัดลำพูนกล่าว
“ปัญหาเรื่องสถานีวัดคุณภาพอากาศ มีจุดเดียว กองอยู่อำเภอแอ่งเชียงใหม่ และลำพูน ส่วนอำเภอลี้ ไม่มีเป็นข้อด้อยไม่มีสถานีวัด ทำยังไงให้ตั้งให้ทั่วถึง เรามีเครื่องมือวัดกันเองได้แล้ว วัดแล้วก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ปัจจุบันข้อมูลประชาชนตระหนกกับสิ่งที่เห็นมาก ซื้อเครื่องฟอกอากาศ
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือเรื่องการเผาชาวบ้านภาคเหนือรู้หมดแล้วละว่ามีฝุ่นหมอกควันแต่ว่าที่ยังไม่รู้ จะเลิกเผาได้ยังไง พอเห็นเขาประกาศให้เลิกเผาก็เลิกเผา 100 วัน 60 วัน แล้วแต่นโยบายในแต่ละปี เป็นอย่างนี้ในทุกปี” สัญญา ทุมตะขบ ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน
สภาลมหายใจลำพูนได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ฝุ่น ฟ้า ลม ไฟ เมืองลำพูน” ครั้งที่ 1 ขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้มลพิษฝุ่นควัน โดยมี คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ เครือข่ายภาคประชาชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยี ในการติดตาม เฝ้าระวัง และแก้ปัญหาและรับมือฝุ่นควัน
สามสาเหตุ : จากในจังหวัด-จากจังหวัดใกล้เคียง-จากประเทศเพื่อนบ้าน
สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่ามลพิษอากาศ ฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดลำพูน มีสาเหตุสำคัญมาไฟป่าในพื้นที่ และอีกส่วนได้รับผลพวงจากวิกฤตมลพิษดังกล่าวของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะทั้งสองจังหวัดมีลักษณะทางภูมิศาสตร์อยู่ในแอ่งเดียวกัน คือแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ทำให้ระดับมลพิษส่งผลถึงกัน
“แหล่งกำเนิดมลพิษหมอกควันภาคเหนือ ส่วนใหญ่มาจากการเผาในพื้นที่โล่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศลักษณะแอ่งกะทะ ซึ่ง จังหวัดลำพูน เป็นแอ่งติดกับ จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่มใหญ่อยู่ทางตะวันตกภาคเหนือตอนบน ฝุ่นจะสะสมตัวในที่ลุ่มมากกว่าในที่สูงด้วยแรงดันความกดอากาศ
9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา แพร่ ตาก และแม่ฮ่องสอน โดยแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน เป็นแอ่งที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สภาพอากาศ มีทั้งการเกิดขึ้นลมสงบระดับที่ต่ำ บางช่วงที่มีระดับความกดอากาศสูงทำให้ไม่สามารถระบายอากาศได้
แหล่งกำเนิดมลพิษหมอกควันภาคเหนือ คือการเผาในพื้นที่โล่ง แต่ไม่ใช่แค่เฉพาะภาคเหนือตอนบนเท่านั้น ภาคเหนือตอนล่าง ประเทศเพื่อนบ้านก็มีการเผา แต่ไทยได้รับผลกระทบหนักกว่าที่อื่น ลำดับ ‘การเผาในพื้นที่โล่ง’
จังหวัดลำพูน ปี 62 มีค่าฝุ่นสูงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนเดือนมีนาคมเล็กน้อย จังหวัดลำพูนคิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น
การเผาพื้นที่โล่ง แหล่งกำเนิดไฟจากกิจกรรมปลูกเกษตร และพื้นที่ป่า จังหวัดลำพูน เฉลี่ยอยู่ 2000 กว่าจุด ในทุกๆปี และคาดการณ์ว่าปี 65 จำนวนเท่าเดิม แม้ทุกพื้นที่เกิดขึ้นในเขตป่า เยอะช่วงปลายเดือนมกราคม กุมพาพันธ์ และมีนาคม อำเภอที่มีการเผาเยอะที่สุดคือ อำเภอลี้ 1300 อำเภอแม่ทา 500 อำเภอบ้านโฮ้ง 260 อำเภอเมืองสูงถึง 2700 จุด” สมพร กล่าว
“จังหวัดลำพูน จากข้อมูล Gistda ปี 62-63 เมื่อเทียบกันกับจำนวนจุดความร้อนจังหวัดลำพูนมีจำนวนจุดความร้อนน้อยที่สุดในภาคเหนือตอนบน ด้วยเหตุผลว่าลำพูนมีพื้นที่น้อยกว่าจังหวัดอื่น
พลภัทร เหมวรรณ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคและเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) หรือ GISTNORTH กล่าวว่า จุดความร้อนเมื่อเทียบย้อนหลัง ปี 63 จำนวน 2847 จุด ปี 64 จำนวน 2526 จุด
“โดยเฉลี่ยอยู่ 2000 กว่าจุดซึ่งไม่ได้ลดอะไรมากมาย เท่ากับปีก่อนหน้า ส่วนจังหวัดเชียงใหม่เห็นได้ชัดจำนวน 19,618 จุด ลดเหลือจำนวน 7,194 จุด จำนวนจุดความร้อนลดลงกว่าครึ่ง” พลภัทรกล่าว
“จำนวน hotspot ต่อพื้นที่สูงอันดับต้น ๆ ของพื้นที่ภาคเหนือรวมทั้งหมด 9.7 ล้านไร่ ร้อยละพื้นที่เผาไหม้เทียบกับพื้นที่ของจังหวัดลำพูน คิดเป็น 14 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนพื้นที่ 4 แสนไร่ หรือ อันดับสาม อันดับแรก จังหวัดลำปาง และอันดับสอง จังหวัดแม่ฮ่องสอนพื้นที่ 3 ล้านไร่
อย่าพึ่งดีใจแม้มีพื้นที่แค่ 4 แสนไร่ แต่จังหวัดพื้นที่เล็กสุดในภาคเหนือ ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ลำพูน สูสีกับแม่ฮ่องสอน พื้นที่มีเขตป่าเยอะมากกว่า หkกคิดเป็นสัดส่วนเผาไหม้ลำพูน 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แม่ฮ่องสอน 22 เปอร์เซ็นต์” บัณรส บัวคลี่ ผู้แทนจากสภาลมหายใจเชียงใหม่กล่าว
“ลำพูนอยู่กลางแหล่งกำเนิดไฟและจุดความร้อนขนาบข้างพื้นที่ไฟใหญ่ ส่งผลได้รับความเสี่ยงที่เยอะกว่า กรณี ไฟไหม้บ้านระมาด – ท่าสองยาง จังหวัดตาก พื้นที่จำนวนล้านกว่าไร่ เกิดการเผาไหม้อยู่บริเวณตอนบนของจังหวัดหมด ซึ่งพื้นที่อยู่ใกล้ลำพูน ทำให้ข้ามมาอำเภอลี้เยอะกว่า นี้คือความยากลำบากของจังหวัดลำพูน
ฝุ่นสามารถเคลื่อนที่ได้หลายร้อยกิโลเมตร โดยมีปัจจัยลมเป็นตัวสนับสนุน พื้นที่จังหวัดลำพูน ช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ลมพัดมาอ้อมใต้ขึ้นเหนือ ตรงกับช่วงเผาของประเทศกัมพูชา หอบฝุ่นสะสมเข้าสู่ภาคเหนือ และภาคอีสาน
ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ลมพัดมาจากตะวันตกฝุ่นของประเทศลาวสะสมรวมกันภาคเหนือ ดังนั้น จังหวัดลำพูนรับฝุ่นควันจากทางจังหวัดตาก กระทบพื้นบริเวณใกล้เคียง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมาจากทางพม่า” พลภัทร กล่าว
-
(ภาพ : WEVO)
ระดมข้อเสนอ-การแก้ปัญหา กลางข้อจำกัด
ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน เปิดเผยถึงความพยายามแก้ไขปัญหาของส่วนราชการว่า มาตราระยะยาวพื้นที่พิเศษดูแลไฟป่า ‘บ้านก้อแซนด์บ็อกซ์’ จังหวัดลำพูน เป็นโมเดลนำร่องลดการเผาป่าช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือ อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ที่รณรงค์ชุมชนเพาะเห็ดเผาะ-เกษตรปลอดเผา-ฝายชะลอน้ำ ถึงแม้ว่าจังหวัดลำพูนมีมาตราการสำคัญ ในการจัดการพื้นที่ความเสี่ยงปัญหาหมอกควัน
“แต่พื้นที่เกิดการเผาไหม้ซ้ำซ้อนแนวเดิมทุกปี แนวโน้มปี 65 ไหม้ที่เดิม ปัญหาคือมีชุมชนเขาไปหาของป่า ทำมาหากินแล้วไฟไหม้ลุกลาม พื้นที่เกิดเหตุในเขตป่าตำบลก้อ อำเภอลี้ เป็นพื้นที่มีเส้นทางติดหลายอำเภอตั้งแต่เขื่อนภูมิพล ไปจนถึงดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งพบปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนายพราน กับเจ้าหน้าที่ จุดไฟในป่าเพื่อกลั่นแกล้ง และจากการเข้าไปดูแลพื้นที่พบช้างป่าจากอมก๋อย อพยพถิ่น ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดับไฟทำงานได้ลำบาก
ข้อเสนอแนะ ต้องเพิ่มจุดสถานีการดับไฟป่ารอยต่อระหว่าง จ.ตาก จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และจ.ลำปาง ให้มันมีมากยิ่งขึ้น กระจายหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ไฟป่าไหม้ซ้ำซาก พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ดับไฟครื่องเป่าลม ฮอดับไฟป่า เพิ่มสวัสดิ์การให้กับเจ้าหน้าที่ดับไฟ แม้ปีนี้มีการทำประกันชีวิตเป็นปีแรก ชุมชนบางส่วนลงทะเบียนไม่ทัน บางคนก็เสียชีวิตไปก่อนแล้ว และเงินประกันชีวิตน้อย
ข้อจำกัดการจัดสรรงบประมาณของรัฐ ต้องทำแผนล่วงหน้า 2 ปีเมื่อตั้งงบประมาณขึ้นไป ปีถัดไปถึงจะได้เข้าสภา และไม่ได้ตามอย่างที่ขอ ทำยังไงก็ได้ให้ทุกท่านช่วยผลักดันงบประมาณลงมาที่หมู่บ้าน ตำบลโดนตรง
อบต.ตั้งงบประมาณดับไฟป่า หาอาสาสมัครมาดับไฟป่า ดับที่ไหน อาหาร เขาคิดงบประมาณโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ ส่วนที่เข้าไปทำงานระยะยาวยังไม่มีคนไปดำเนินการต่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องออกเทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติ ตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ให้ครอบคลุมเหตุรำคาญจากเผาในที่โล่ง การดำเนินคดีเพื่อสืบหาความผิดทุกจุดความร้อน และประกาศปิดพื้นที่ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติในช่วงฤดูแล้ง” สัญญากล่าว
ในความเห็นของนักวิชาการ GISTNORTH พลภัทรกล่าวว่า Zero Burning ยังไม่ใช่ทางออก เสี่ยงทำพื้นที่เผชิญความรุนแรงของฝุ่นได้นานกว่าเดิม เพราะพื้นที่สะสมเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น หากหลีกเลี่ยงใช้ไฟ หาทางออกแบบไหนให้เหมาะสม ลม สภาพอากาศ และการระบายอากาศ
“ที่จังหวัดเชียงใหม่มีการใช้เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการเชื้อเพลิง เพื่อบัญชาการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5 โดย ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบดังกล่าว” พลภัทร กล่าว
ด้านเครือข่าย่นักวิชาการและภาคประชาสังคมได้มีการทำงงานร่วมกันเพื่อหาข้อเสนอทางออกในเรื่องนี้สำหรับลำพูน
“คณะทำงานด้านวิชาการ มช. ทำงานร่วมสภาลมหายใจภาคเหนือ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นปัญหาหมอกควันเป็นวาระแห่งชาติ จัดตั้ง คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มีความร่วมมือร่วมกับ สภาลมหายใจเชียงใหม่ และสภาลมหายใจภาคเหนือ หน่วยงานภาครัฐระดับพื้นที่ Gistda หรือ ศูนย์ Gistnorth หน่วยงานระดับประเทศดูแลพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสร้างเสริมศักยภาพประชาชนร่วมกันรับรู้ปรับตัวภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ใช้องค์ความรู้ที่มีสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง” ตัวแทนเครือข่ายเปิดเผย