นักวิชาการเสนอการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตโควิดควรมุ่งทิศ “กรีนไฟแนนซ์” หรือการเงินสีเขียว ที่เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม-ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพพัฒนาควบคู่กันไป ตามทิศทางโลก เผยความเป็นพร้อมมีระดับหนึ่งแล้ว ภาครัฐมีแผนแม่บทและตัวชี้วัดแล้ว แต่อาจต้องปรับปรุงระบบการประเมินผลการใช้งบ แนะดูศักยภาพความสำเร็จของ “เกาะเต่าโมเดล”
กรีนไฟแนนซ์ ทิศที่ไทยควรไป
“สิ่งที่เราอยากจะตั้งคำถาม คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม GreenRecovery หลังวิกฤตโควิด – 19 ประเทศไทยพึ่งพิงชาวต่างชาติมาก เมื่อยุติการท่องเที่ยว รายได้เราตกมากตั้งแต่ปี 63 เพราะกำไรจากนักท่องเที่ยวคือกำไรระยะสั้น
จากการทำวิจัยปี 64 ก็ยังตกอยู่ จะทำอย่างไรโดยมี 2 ทางเลือก ทางเลือก A คือทำทุกอย่างเพื่อให้รายได้กลับมาเท่าเดิม สิ่งที่ดิฉันอย่างเสนอทางเลือก B ค่อยๆ ขยับไปพร้อมกับคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”
นิรมล สุธรรมกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวทีเสวนาออนไลน์ “การเงินสีเขียว (Green Finance and Policy Interventions) ความท้าทายในเส้นทางการพัฒนาสีเขียว (Green Growth)” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดย Bangkok Tribune News ดาวน์โหลดรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม
“การอนุมานตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ GDP มีความสัมพันธ์กับตัวเลขมลพิษทางอากาศ PM2.5 สูงขึ้น เช่นเดียวกับวิกฤตมลพิษทางน้ำ ขยะ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ชี้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอยู่ที่กระบวนการ
Policy Intervention เราจะเชื่อมโยงให้เอกชน การท่องเที่ยวเติบโต เราจะต้องดีลว่าทำอย่างไรให้กลับไปสู่ GreenRecovery เราจะต้องทำให้อุตสาหกรรม โรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว การเดินทางให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไม่กลับไปปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าเดิมเมื่อปี 62 ควบคุมเทคโนโลยีการจัดการมลพิษ น้ำเสีย บำบัดน้ำเสียอย่างไรไม่ให้ลงทะเล หรือให้เงินอุดหนุน เข้าส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมดั่งเดิมปรับตัวให้ดีขึ้นหลังโควิด -19”
Green Finance หาแหล่งเงินทุนปรับตัวธุรกิจ พฤติกรรมบางอย่าง กิจกรรมของรัฐ เอื้อประโยชน์เศรษฐกิจ กรีนไฟแนนซ์ภาครัฐ หารายได้จากภาษีใช้งบประมาณ กรีนไฟแนนซ์ภาคธุรกิจคือ การบริจาคเพื่อเพิ่มต้นทุนการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างไร หรือที่ฮิตกันคือ เปิดพันธบัตรซื้อขายหุ้นตราสารหนี้ชนิดใหม่ขึ้นมา เป็นการระดมเงินทุนเพื่อเป้าหมายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม กระตุ้นเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม เช่นการระดมของผู้ได้ประโยชน์จากป่า ไปปลูกป่า อัตราผลตอบแทนไม่เยอะ ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น” นิรมล กล่าว
เป็นทางออก งบดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ
นิรันดร์ นิรันดร์นุต ผู้จัดการโครงการ The Biodiversity Finance Initiative for Thailand เปิดเผยว่า ไทยมีงบประมาณที่สนับสนุนความหลากหลายชีวภาพต่ำเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ไทยทั้งหมด ชี้ความหลากหลายมีมูลค่าสูงและเป็นฐานของการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ชี้รัฐควรให้ความสำคัญก่อนที่ผลกระทบจะหนักภายหน้า
“ความหลากหลายทางชีวภาพมีมูลค่า 20 ล้านล้านดอลลาร์ ความต้องการทางการเงินสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพรายปีอยู่ที่ 150-440 พันล้านดอลลาร์ แต่เงินที่ตอนนี้ระดมทั่วโลกได้อยู่ที่ 52 พันล้านดอลลาร์ SDGs เป็นเข็มทิศเป้าหมายของโลกเติบโตอย่างพัฒนายั่งยืน หลายประเทศที่จะบรรลุเป้าได้ฐานสำคัญสุดคือสิ่งแวดล้อมนั้นคือ ความมั่นคงที่แท้จริง เรายังขาด 2.5 พันล้านล้านที่จะมาไฟแนนซ์ของโลกต่อปี
กลับมามองประเทศไทย ถ้าจะขับเคลื่อนนโยบาย BCG model เราต้องมองที่อะไร เขาจำเป็นต้องลงทุนเพื่อความหลากหลายชีวภาพเป็นฐานของสังคมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ฺแผนการเงินที่เรายังมองไว้ ปี 2037 BCG Economy in action ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเศรษฐกิจชีวภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ
ประเทศภายในปี ถ้าเรายังเกาะ GDP มีลุ้น 10 เปอร์เซ็นต์
การเงินเพื่อความหลากหลายชีวภาพในประเทศไทยมีเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ GDP ถ้าเรามองว่าเซกเตอร์ด้านการบริการคิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ ก็คือเรื่องท่องเที่ยวเราเจียดเงินเข้ากระเป๋า 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังไม่ถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราจะปิด Gap เรื่องสิ่งแวดล้อม ยังขาดถึง 942 USD ล้านดออลลาร์
ธีมหลักที่ทาง BIO FIN ขับเคลื่อนในประเทศไทย 2019 – 2053 หนึ่งดูแลการท่องเที่ยว สอง สัตว์ป่า สาม การทำงบประมาณที่สะท้อนผลลัพธ์เพื่อกรดูแลความหลากหลายชีวภาพระดับท้องถิ่น สี่ การลงทุนผลกระทบทางบวกความหลากหลายชีวภาพ อีกทั้งยังทำ BIO FIN workbook เครื่องมือที่ภาครัฐและเอกชนเราเข้ามามีส่วนร่วมได้” นิรันดร์นุต กล่าว

ระบบประเมินผลงบประมาณ ต้องปรับให้สอดคล้อง
ด้านณรงค์ชัย ฐิตินันท์พงศ์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ สำนักงบประมาณของรัฐสภา ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ภาครัฐมียุทธศาสตร์และแผ่นแม่บทที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วแต่ มีข้อจำกัดด้านการประเมินผลหน่วยงานย่อย และข้อมูลสำคัญในการพิจารณางบประมาณปีถัดไป เนื่องจากโครงการมีอยู่เป็นจำนวนมาก เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินค้ากรีนโปรดักส์ และสนับสนุนความสามารถในการผลิตสินค้ากรีนของภาคเอกชน
“ยุทธศาสตร์ชาติและการจัดสรรงบประมาณ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว การปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณต่ำ เราจะต้องดูแผนงานถึงจะมีเงินตามมา แผนงานของประเทศคือยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2561 – 2580 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเรื่องเน้น 6 ด้าน สังคมเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน สังคมที่เป็นมิตรต่อภูมิอากาศ สังคมที่เป็นมิตรทางทะเลที่ยั่งยืน พื้นที่เมืองชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ยกระดับกระบวนทัศน์ประเทศและการพัฒนา พัฒนาความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ พลังงานและเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนแม่บทฯภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งหมด 23 ประเด็น ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน มีแผนย่อยอยู่ 5 ประเภท เป็นส่วนที่เร่งให้หน่วยงานราชการดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว ได้แก่ การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ การจัดการมลพิษ และสารเคมีภาคเกษตร และการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
แผนใช้ได้มา 2-3 ปี สภาพัฒได้เก็บตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนแม่บทที่ 18 มี 7 ประเภท รหัสตัวชี้วัด 6 หลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมิณผลคือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่าการดำเนินงานตัวชี้วัดภาพใหญ่อยู่ภายใต้แผนแม่ย่อย บนยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่
ตัวชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมที่ทางสภาพัฒฯดูอยู่ ในเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน มีทั้ง 7 ตัว ดัชนี้สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม สัดส่วนพื้นที่สีเขียว ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร ปริมาณการปล่อนก๊าซเรือนกระจกลดลง ดัชนีประสิทธิภาพการจัดการขยะ ดัชนีการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม เป็นข้อมูลสำคัญที่ทางสภาพัฒฯใช้ในการประเมิณผล หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไปแล้วมีการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ชาติอย่างไร
แผนเงิน OECD Green Budgeting Framework เป็นเครื่องมือการงบประมาณสีเขียว ทำให้ประเทศบรรลุด้านสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ มีเรื่อง หนึ่ง-กลยุทธ์ การจัดทำงบประมาณ ยุทธศาสตร์แผนงาน สอง-เครื่องมือการวิเคราะห์หลักเกณฑ์ค่าใช้จ่าย ผลกระทบภาครัฐการดำเนินงานอย่างไร สาม – การรายงานผลผู้ที่เกี่ยวข้องไหม สี่ – กรอบในการพิจารณางบประมาณเครื่องมืออื่นๆในการวิเคราะห์
การติดตามและประเมิณผลในหน่วยงานย่อยยังทำได้จำกัด เพราะว่าจำนวนโครงการมีอยู่เป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ผลของโครงการที่หน่วยงานราชการต่างทำเมื่อเอาไปทำแล้วมันส่งผลต่อยุทธศาสตร์ให้บรรลุได้อย่างไร มุ่งเน้นด้านผลลัพธ์จำกัด ส่งผลให้ขาดความคุ้มค่าและข้อมูลสำคัญพิจารณางบประมาณในปีต่อไป
ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมGreen Economy มันต้องแบ่งด้านอุปสงค์ อุปทาน สินค้าการบริโภค ภาครัฐส่งเสริม การจัดซื้อจัดจ้างเน้น สินค้นกรีนโปรดักส์เพิ่มขึ้น รถยนต์EV ในขณะเดียวกันรัฐควรส่งเสริมด้านทัศนคติและพฤติกรรมประชาชน ให้ใช้สินค้ากรีนโปรดักส์มากขึ้น ส่วนด้านอุปทาน เกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตภาคเอกชน ภาครัฐจะต้องเข้าไปแก้ไขเรื่องกฎระเบียบ การดำเนินธุรกิจ สิทธิประโยชน์ การส่งเสริมแหล่งทุนและผลิตภาพ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ” ณรงค์ชัย กล่าว
“เกาะเต่าโมเดล” รูปธรรมกรีนไฟแนนซ์ที่น่าจับตา
นิรันดร์ อธิบายว่า เกาะเต่า พื้นที่ในการดำเนินงานกลไกการเงินเพื่อความหลากหลายชีวภาพ ด้วยรูปแบบ การระดมเงินทุน กลไกท้องถิ่น-ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมการเงินเพื่อทำกิจกรรมบริหารจัดการขยะสู่เป้ากรีนไอแลนด์ ป้ายทะเบียนเพื่อการอนุรักษ์ เพื่อนำค่าทะเบียบไฟแนนซ์เชียลกลับมาอนุรักษ์ป่าภาคตะวันตก
“กลไกการเงินเพื่อความหลากหลายชีวภาพ จากเหตุการณ์โควิด 19 เราจะทำงานการระดมทุน crowdfunding for covid19 recovery ทำงานร่วมกันธนาคารกรุงไทย ที่มีFinTech เข้าไปตอบโจทย์ และมีเทศบาลเกาะเต่าที่เข้มแข็ง มูลนิธิรักษ์ไทย สนับสนุนกลุ่มเปราะบาง 200 ชีวิต ซึ่งช่วงโควิด 19 ไม่มี โดยปกติ 500,000 คนต่อปี เข้ามาท่องเที่ยวเกาะเต่า ระดมทุน 3,000 บาท 200 ชีวิต 3 เดือน เพื่อให้คนเหล่านี้จุนเจือครอบครัว เขาทำงานตอบแทนเก็บขยะเพื่อดูแลพื้นที่เกาะเต่า พร้อมรับพื้นที่เปิดประเทศ ซึ่งเป็นGreenrecovery for blue economy
ไฟแนนซ์โซลูชั่น อันที่ 2 การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 500,000 คนทุกปี เกาะเต่าเป็นแหล่งดำน้ำ ท๊อป 10 ของโลก ผลิตนักดำน้ำเยอะมาก ใต้มหาสุทธสวยงามมาก ทำให้คนท้องที่เขารักบ้านเขาอยากลองทำกลไก ท้องถิ่นสามารถเก็บค่าธรรมเนียมเราช่วยเขาออกแบบ เทศบัญญัติตอบโจทย์ให้ได้ว่า เงินมาจากไหน เอาไปใช้ทำอะไร สุดท้ายต้องกลับไปดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการขยะ เกาะเต่า เขามองตัวเองเป็นสมาร์ทไอแลนด์ แล้วจะเป็นกรีนไอแลนด์ให้ได้ เป็นโจทย์ที่เราต้องมาช่วยคิดต่อคนในพื้นที่
อันสุดท้ายเราจะมาดูแลเรื่องการคุ้มครองและพื้นที่สัตว์ป่า เรามองในประเทศไทยมีรถยต์เกือบ 40 ล้านคัน มองทั้งหมด เรื่องรถติดเราไม่เป็นสองรองใคร แทนที่เราจะเอาประเด็นเรื่องรถมาเป็นปัญหา เราขอให้มองเป็นส่วนหนึ่งการแก้ไขปัญหา คุยกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นมิติใหม่ๆในการมองเรื่องอนุรักษ์ ตอบโจทย์ทุกๆกระทรวง
คอนเซ็ปนี้คือเราได้ทำการสำรวจโพลกับทางนิด้า พบว่าประชาชนคนไทย กว่า 40 เปอร์เซ็นต์พร้อมที่จะจ่ายพรีเมียมในคราวละ 1000 บาท คูณจำนวนรถแล้วเราเอาไฟแนนซ์เชียลกลับมาสู่ประเทศไปดูแลป่า ภาคตะวันตก สำคัญเป็นพื้นที่ป่าที่ยังดำรงอยู่ อนุรักษ์เสือที่เหลืออยู่ 100 ตัว คำตอบก็คือการที่ดูแลเสือทำให้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯทำให้หลายคนอยากดูแล
4 มิติ ควรมองภาคการเงินการธนาคาร พบคนเจอเนเรชั่นใหม่ๆ มองพอร์ทการลงทุนว่ามีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่หรือเปล่า การดูแลทรัพยากร GreenRecovery ท้องถิ่นมีส่วนร่วมสำคัญมากเพราะนั้นคือบ้านเขาเอง Green Subsidies กลไกการระดมทุนเงินอุดหนุนต่างๆถ้ามันทำร้ายสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมันไม่เคยจบสิ้นค่าเสียหายในอนาคตสูงมากที่เราต้องกลับมาแก้ไข เรื่องพื้นฐานธรรมชาติช่วยเชื่อมภูมิอากาศ และความหลากหลายชีวภาพ ทำงานให้เป็นภาพเดียวกัน” นิรันดร์นุต ทิ้งท้าย