ยังวิกฤต “จับปลาเด็กในทะเลไทย” โมเดิร์นเทรด-ขายออนไลน์ตัวเร่งยุคโควิด

สถานการณ์จับปลาเด็กในทะเลไทยยังวิกฤตต่อเนื่อง เผย “โมเดิร์นเทรด ขายออนไลน์” ตัวเร่งสำคัญกลางโควิด ตามด้วยปัจจัย “ประมงพาณิชย์” เสนอ 4 ทางออก ท่ามกลาง “ความไร้หวัง” จากกลไกรัฐที่นิ่งเฉยมา 7 ปีแล้วในเรื่องนี้

โมเดิร์นเทรด ขายออนไลน์ เร่งความต้องการซื้อ

วิโชคศักดิ์ นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การจับปลาวัยอ่อนในทะเลไทยล่าสุดว่ายังคงอยู่ในสภาวะวิกฤตต่อเนื่อง และน่าเป็นห่วงมาก

“ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆเรื่องการบริหารจัดการสัตว์น้ำวัยอ่อนประเทศไทย สถานการณ์ประมงในประเทศไทย ที่กระทบอย่างมากคือเรื่องการประมงดึงเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาใช้ตั้งแต่การประมงถึงผู้บริโภค และพบว่าตลาดโมเดอร์นเทรด Modern Trade เป็นตัวกลางสำคัญรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อนถึงมือผู้บริโภค เรื่องนี้กำลังเป็นสัญญาณอันตราย”

วิโชคศักดิ์ กล่าวในการเสวนาออนไลน์หัวข้อ “ปัญหาปลาเด็ก เรื่องไม่เล็กของทะเลไทย” ซึ่งจัดโดยสำนักข่าว WorkPoint TODAY วานนี้ 12 ก.ค. 64 เวลา 15.00 น.

“ผลการสำรวจตลาดขายสัตว์น้ำไม่โตเต็มวัย “ร้านโมเดิร์นเทรด” เป็นอันดับสูงสุดถึง 68% อันดับถัดมา ร้านค้าในตลาดของฝาก 60% และอันดับสุดท้าย ร้านค้าในตลาดสด 53%

เราสำรวจทั้งหมด 389 ห้าง และร้าน ใน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ตราด เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม โดยจ.ชลบุรี ขึ้นเป็นอับดับ 1 คือ 79% อันดับถัดมา จ.นครราชสีมา 78 % และ จ.กรุงเทพมหานคร 75 %

ประเทศไทยที่เราจับกลุ่มปลากระตักได้มากที่สุด คือปริมาณ 1,400,000 ตัน ต่อปี หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ปลาหมึก 80,000 ตัน พวกปลา 1 หมื่นตัน หรือเรียกว่าการทำประมงแบบ ฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ Fishing Down Food Webs ปลากระตักเป็นห่วงโซ่อาหารเกือบที่จะเล็กที่สุดของระบบนิเวศเมื่อคนจับมากินเอง

ผลกระทบที่เกิดปลาหมึกกินลูกตัวเอง หมึกแทนจะมีปลากระตักอยู่ท้อง มีลูกของอินทรีย์ เกิดภาวะแบบนี้กระพริบแดงอย่างรุนแรง เกิดภาวะช็อค ตัวปลาอื่นก็เริ่มลดน้อยถอยลง ปลาทูแทบจะหายไปจากไทยเลย เกิดภาวะแบบนี้ คนแรกที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มที่จับปลา จับได้น้อยลงกลุ่มประมงพื้นบ้าน

กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งหมด อย่างเช่นปลาทู นับเป็นตัวอ่อน หนึ่งพันตัวจะได้ 1 กิโล แต่ถ้าเรารออีก 6 เดือน หนึ่งพันตัวก็โตเต็มวัยประมาณ ราคาก็จะมีการเปลี่ยนพลิกทางตลาด เราศูนย์เสียมูลค่ามูลเศรษฐกิจเป็นร้อยเท่า ถ้าปล่อยปลากระตักปเขาเติบโต ก็จะมีประโยชน์และส่งผลกับราคาตลาดระยะยาว..

ภาวะที่เกิดขึ้น ฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ Fishing Down Food Webs จะเกิดภาวะวิกฤตเลยการประมงไทย
ถ้าเราจัดการเรื่องนี้ไม่ได้มันอาจจะเกิดภาวะวิกฤตรุนแรงครั้งใหม่ของวงการประมงไทย คนไทยจะกินปลาที่แพงมากขึ้น” วิโชคศักดิ์ กล่าว โดยอ้างอิงถึงรายงานผลการวิจัย “การศึกษารูปแบบการจัดจำหน่ายสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่โตไม่ได้ขนาดในประเทศไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ของสมาคมฯ ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อกลางปี 2563 ที่ผ่านมา พร้อมข้อมูลอัพเดตจากการทำงานของสมาคมล่าสุด

สืบเนื่องมาจาก เมื่อโดย วิโชคศักดิ์ พบว่าตลอดการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ปี 58 สหภาพยุโรป EU ให้ใบเหลือง ประมงทะเลไทยประเทศที่ทำการประมงผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม (IUU Fishing) ไทยมีความพยายามแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ และส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืน

เครื่องมือ ประมงพาณิชย์ อีกตัวเร่งวิกฤต 

จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อธิบาย การประมงพื้นบ้าน ประมงไทยมีตั้งแต่ จับควบคู่อนุรักษ์ฟื้นฟู อีกส่วนจับตั้งแต่ ทำประมงคิดว่าเครื่องมือตัวเองไม่ได้ทำผิดกฎหมายทำลายสัตว์น้ำ ประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์แตกต่างกันที่ ขนาดปริมาณ ประมงพื้นบ้านออกวันละครั้ง 

“เห็นได้ชัดว่าการปริมาณการจับประมงพื้นบ้านที่มีแค่ 5เครื่องมือ แต่เราเลือกจับสัตว์ที่โตเต็มวัย ดูได้จากเครื่องมือที่ตาอวนขนาดเครื่องมือ 2.5 เซ็นติเมตรขึ้นไป จนถึง 4-7 นิ้ว..

แต่ประมงพาณิชย์ใช้เครื่องมือ 2.7 เซ็นติเมตร วิธีการทำประมงต่างกัน ใช้อวนล้อม ปลาทุกชนิดจะอยู่ในอวนล้อมแล้วทุกตักขึ้นเรือ เอาน้ำแข็งลวกเลย แล้วไปคัดแยกที่ฝั่ง ถ้าเป็นอวนลาก เลือกในเรือ ก็จะเห็นปริมาณชัดเจนว่าใครทำร้ายมากกว่ากัน

ถ้าเป็นปลากระตักจะเอาขึ้นมาทั้งปลาทู ทั้งอวน เอามาทำเป็นปลาแห้ง แล้วค่อยเลือก ขณะที่ปลาทูส่วนหนึ่งไปแปรรูปเป็นปลาแห้ง ปลาทูมันเขาจะเปลี่ยนชื่อทันทีจากลูกปลาทู กลายเป็นปลาทูมัน เพื่อที่จะเอามาขายตามท้องตลาด ส่วนอวนลาก ถูกแปรรูปไปเป็นปลาเป็ด ปลาไก เอาไปหมักเป็นน้ำปลา ซึ่งเราเห็นตอนขึ้นมาซึ่งก็รู้สึกเสียดาย ผู้บริโภคแยกไม่ออก ปลาเหล่านี้เป็นปลาเด็กไม่โตเต็มวัย” จิรศักดิ์ กล่าว

4 ข้อเสนอปลดล็อค 

ในเวทีฯ ได้มีการนำเสนอทางออก 4 ข้อ คือ การรณรงค์สาธารณะ การแจ้งแหล่งที่มา-Seafood Guide การบังคับใช้กฏหมายประมงมาตรา 57 และ ความร่วมมือ “ประมง-ผู้บริโภค-ธุรกิจ-รัฐ” จากวิทยากรทั้งสี่

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการองค์กร Greenpeace พูดถึงข้อเสนอกับภาวะวิกฤตเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อสื่อสารเรื่องภาวะวิกฤตประมงทะเลไทยพร้อมทั้งทำกิจกรรมแคมเปญรณรงค์ที่เชื่อมโยงกับประมงค์พื้นบ้าน ให้ผู้บริโภคร่วมกันตระหนักและงดบริโภคสัตว์ทะเลวัยอ่อน

“การเปิดเวทีให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเยอะโดยเฉพาะผู้บริโภค คนกิน เรียกว่ามีส่วนสำคัญที่จะกำหนดชะตากรรมของทะเลไทย แล้วก็กิน เอามาจากผู้ผลิต ชาวประมง เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานที่มีความซับซ้อน พูดถึงคนที่เข้ามาขับเคลื่อนให้ทะลไทยมีความยั่งยืน 

จำเป็นต้องมีแคมเปญ ที่ดึงดูดใจทำอย่างไรให้ผู้บริโภคที่อยู่ในเมือง เข้ามาไปโมเดิร์นเทรดมองว่าอาหารหรือปลาแปรรูปสัตว์น้ำต่างๆ พลังของผู้บริโภคในเมืองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งทำให้ทะเลไทยจะไปทางไหน ทำแคมเปญหวือหวาเร้าใจเพื่อคนนับแสนมาเพื่อกดดัน รัฐบาล คนที่เป็นคนออกมาขายในโฒเดิร์นเทรดได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มีกฎกติการ่วมกันว่าเราจะทำอย่างไรเรื่องนี้ ทะเลอุดมสมบูรณ์ มันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเวทีอย่างนี้” ธารากล่าว

ดวงใจ พวงแก้ว Producer Outreach Manager – SE Asia องค์กร ASC เปิดเผยถึงวิธีการแก้ไขปัญหากรณีต่างประเทศ ลดผลกระทบที่เกิดโดยการใช้ การควบคุมแหล่งที่มาของปลาป่นที่เอามาใช้การผลิตปศุสัตว์ มีการตรวจสอบแหล่งที่มา ด้วยวิธีการอย่างยั่งยืน และมีการศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

“ปลาป่น บางครั้งมีการเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาทำ ต้องมีงานวิจัยมารองรับว่า การจับปลาประเภทนั้นที่ไม่ได้ส่งผลความุรนแรง ไม่ได้มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนยังไม่ถึงระยะโตเต็มวัย นำมาใช้การผลิตหรือว่าทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศภาพรวม เพราะฉะนั้น ASC เป็นองค์กรดูแลเรื่องการตรวจสอบทำประมงโดยเฉพาะ ตรวจสอบชัดเจนเขาคุมซับพลายเออร์ตัวเองได้ชาวประมงแหล่งที่มาของปลาแต่ละชนิดไม่ได้เอาสายพันธุ์ใกล้ศูนย์พันธุ์ ไม่ได้เอาสัตว์ใกล้ศูนย์พันธุ์เต็มที่ 

การเอาปลาวัยอ่อนมาทำเป็นอาหารสัตว์ เรามาพูดถึงการเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาทำเป็นอาหารมนุษย์ วิจัยการบริโภคอาหารทะเลในไทย เราขาดความเข้าใจการใช้ชื่อแบบอื่นทำให้ คนบริโภคเองก็หลงว่าเป็นที่สายพันธุ์หรือเปล่า อย่างหนึ่งที่เราทำได้ที่เมืองนอกร่วมกันคือ ซับพลายเชนทำแคมเปญให้ผู้บริโภคซื้อถ้าไม่มีดีมานด์ ก็ไม่มีซับพลาย 

เราให้ความรู้ความเข้าใจอำนวยความสะดวก การทำซีฟู้ดเพื่อที่จะบอกว่า คนในเมืองไม่รู้ว่าสัตว์แต่ละชนิดขนาดไหนโตเต็มวัย ตัวไหนที่ห้ามรับประทาน หลายประเทศทำเป็นซีฟู้ดไกด์ (Seafood Guide) อธิบายสัตว์แต่ละชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยง  ยกตัวอย่างเช่น ทูน่ามีหลายสายพันธุ์ เติบโตเต็มวัยแตกต่างกัน ถ้าเราเป็นคนบริโภคเฉยๆ ไม่มีความรู้เรื่องอาหารทะเล ทูน่าที่เขาวางขายอยู่เป็นสายพันธุ์ไหน อย่างน้อยทำให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ว่าสายพันธุ์ไหน 

สร้างประโยชร์ทุกฝ่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน จับมือกับทุกฝ่ายเพราะว่าปัญหามีความซับซ้อนเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้ผลิตทำฝ่ายเดียวหรือว่าผู้บริโภค มันต้องเดินหน้าแก้ปัญหาไปพร้อมกันถึงแก้ไขปัญหาได้” ดวงใจ อธิบาย

จิรศักดิ์ อธิบายถึง ข้อเสนอการจับประมงแบบยั่งยืน ชาวประมงประกอบความรู้ไปด้วยเรื่องปลา แต่อยากให้ตระหนักถึงช่วงระยะเวลาที่ไม่ควรหว่านออกหาปลา โดยนึกถึงว่าความคุ้มค่าของตนเองฝ่ายเดียวเป็นหลัก 

“เราใส่ใจทำประมงทะเล จะส่งต่อรุ่นหลานได้ ถ้าชาวประมงรุ่นใหม่ทำประมงแล้วรับผิดชอบ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่จับลูกปลา ไม่ทิ้งขนะลงทะเล ผมคิดว่าทะเลมันจะอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ เราก็ใช้ทะเลเป็นอาชีพ เป็นเครื่องมือมาหากิน ตอนนี้ถ้ากฎหมายจะบังคับมาตรา 57 เราก็ยินดีให้กฎหมายมาบังคับ

ชาวประมงส่วนใหญ่รู้ว่าปลาที่เราจับเป็นปลาชนิดใด ปลาตัวเล็ก ตัวใหญ่ สามารถแยกขนาดได้ว่าเป็นป่าอะไร ยิ่งมีเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นระบบโซนาร์ ประมงพาณิชย์ระดับไต๋จะรู้เลยว่า ออกจับปลาแต่ละรอบกี่หมื่น – พันกิโล ปลาชนิดอะไรขนาดเล็กหรือใหญ่ 

แต่ระหว่างที่ช่วงไม่ควรหว่านปลา เขาเลือกที่จะหว่านก็เพราะนั้นคือค่าน้ำมัน ค่าลูกน้อง ถ้าเรายั้งใจไว้ รออีก 6 เดือนเราจะได้ทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ผมก็อยากเห็นนะครับ มาตรา 57 ประชุมที่กรงประมง กระทรวงเกษตร ได้ออกมาบังคับใช้เพื่อที่จะท้องทะเลอุดสมบูรณ์” จิรศักดิ์ กล่าว

วิโชคศักดิ์ เปิดเผยถึงข้อเสนอ 4 กลุ่ม กลุ่มประมง ผู้บริโภค ธุรกิจ และภาครัฐ ร่วมกันหาทางออกยุติกระบวนการจับปลาวัยอ่อนมาเป็นอาหารให้กับมนุษย์และอาหารปศุสัตว์ เพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ พร้อมทั้งเสนอแคมเปญร่วมลงรายชื่อ เรียกร้องตลาดห้างซื้อขายสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่ Change.org

“ผมคิดว่าสัตว์น้ำมีความพยายาท 3 เรื่อง หนึ่งเขาสามารถคลอดได้คราวละเยอะๆ แม่คลอดได้เป็นแสนตัว โอกาสที่เขาจะกลับมาหาเราได้ สอง อย่าลืมเขาอพยพย้ายถิ่นได้ สาม ตัวเขาบางชนิดถ้าไม่มีตัวผู้ในฝูง เขายอมแปลงเพศเป็นตัวผู้ เพื่อจะสืบเผ่าพันธุ์ นี้คือความพยายาม 

ส่วนการที่จะมีส่วนช่วย พูดถึง 4 คน หนึ่ง คนจับ ชาวประมง ผมคิดว่าความท้าทายนี้ไม่เกินกำลังเรา ความท้าทายสามข้อแรกเขารอเราอยู่  เราเองที่จะต้องปรับตัว ผมเชื่อว่าไม่มีใครขาดทุน ทุกคนจะได้กำไรพร้อมกัน เรามีสติในการออกแบบเครื่องมือเลือกจับเฉพาะอย่างได้ 

คนทานผู้บริโภค ท่านช่วยได้ หนึ่ง ถ้าตัวอ่อนถ้าสงสัยท่านซัดถาม หามาตราฐาน ปลาทูแก้วอย่าไปซื้อ ซื้อทานตัวโตเต็มวัย ทางที่สองมีแคมเปญท่านสามารถเข้าไปร่วมได้ เปิด Change.org ตอนนี้เรามีน้องประมงเปิดแคมเปญนี้ น่าสนใจมากจะเป็นพลังของผู้บริโภคทั้งหลายไปลงชื่อตรงนั้น เรียกร้องตลาดห้างซื้อขายสัตว์น้ำวัยอ่อนขอได้ไหม ตัวโตเต็มวัยซื้อได้ อันนี้คือบทบาทที่ผู้ยริโภคกำลังเรียกร้อง 

รัฐบาล ต้องใช้กฎหมายเป็นภาพรวมออกมา บริหารจัดการสัตว์น้ำวัยอ่อนประเทศไทยให้ได้ มันเกิดขึ้นไม่ได้ยากเกินไป อันไหนตัดสินใจให้ตัดสินใจ แล้วมีข้อมูลครบถ้วนไม่จำเป็นต้องร้อยชนิดก็ได้

โมเดิร์นเทรด ท่านเป็นตลาดใหญ่มาก จากผลการวิจัยชี้ชัดมาก ท่านเป็นมือที่สำคัญมากเรื่องสัตว์น้ำทะเลวัยอ่อน เป็นห่วงโซ่ใหญ่มาก ไม่ต้องรอกฎหมายท่านใช้ความกล้าหาญ ในการตัดวินใจในการทำธุรกิจ ท่านได้ยินเสียงนี้ให้ลงมือทำเลยจะเป็นคุณูปการอย่างยิ่ง หวังว่าจะเกิดขึ้นในทุกเซกเตอร์ช่วยกัน

เรื่องนี้ใหญ่มากถ้าเราปล่อยปะละเลย เหมือนกำลังทิ้งทรัพย์สินอันมีค่า จากแสนล้านถ้าเราทำมันจะเพิ่มอีกสองแสนล้าน ห้าหมื่นล้านไม่ต้องไปกู้ตังค์ก็ยังได้เลยทะเลไทยให้อะไรเราเยอะ”  วิโชคศักดิ์ กล่าว