เอสซีจีเปิดตัวพิพิธภัณฑ์จัดการน้ำชุมชนทุ่งสง แก้น้ำหลากภัยแล้งเมืองคอน

ชุมชนทุ่งสงร่วมมูลนิธิอุทกพัฒน์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำโดยขุมชน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำหลาก

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เอสซีจี (SCG), มูลนิธิอุทกพัฒน์, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) และชุมชนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ร่วมเปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน แก้ไขปัญหาน้ำหลากรุนแรงและภัยแล้ง เพื่อน้ำอุปโภค บริโภค และเกษตร ณ ชุมชนทุ่งสง ตำบลถ้ำใหญ่ และตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุ่งสง
เปิดตัวพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติการจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / จรัสรวี ไชยธรรม

สืบเนื่องมาจากชุมชนทุ่งสง เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน เกิดผลกระทบดินโคลนถล่มซึ่งทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย จึงได้ร่วมกันเรียนรู้การแก้ไขปัญหาโดยการใช้เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิดระบบหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างสูงสุดลดปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติการจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ คือความสำเร็จที่ท่านได้ทำ ทางมูลนิธิส่งมอบหน้าที่ให้กับชุมชน รักษา สานต่อ และช่วยคนอื่น นั้นชุมชนต้องเป็นคนถ่ายทอดความรู้ เมื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำหลังจากปี 2560 เราไม่เจอน้ำแล้ง เราไม่เจอน้ำหลาก เพราะเราบริหารจัดการน้ำ
“การทำงานร่วมระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลถ้ำใหญ่ และตำบลนาหลวงเสน เครือข่ายจัดการน้ำและเยาวชนพนาดร ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า โครงการพระราชดำริเป็นหลักคิดและประยุกต์ใช้ในพื้นที่โดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ เข้ามาพัฒนาถ่ายทอดความรู้ร่วมกับ สสน. โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน”
ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี อธิบายว่า ชุมชนทุ่งสงเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ซึ่งการพัฒนาเริ่มตั้งแต่ปี 2559 สนับสนุนงานด้านการจัดการน้ำของชุมชน ฟื้นฟูป่าและสร้างฝายชะลอน้ำ และพัฒนาระบบน้ำดื่มชุมชนที่สะอาด
“หลักสำคัญชาบ้านร่วมตัวกัน ก็ทำให้โครงการนั้นสำเร็จ เป็นการทำงานแบบใหม่ในอนาคต พร้อมกับทางมูลนิธิอุทกพัฒน์ร่วมพัฒนาพื้นที่เหมือนกัน ซึ่งการพัฒนาชุมชนต้องร่วมกันสอบถามถึงความต้องการในการพัฒนาหากชุมชนเห็นด้วยก็เป็นเรื่องที่ง่าย จะต้องนำปัญหามาจัดเรียงความสำคัญ และเริ่มแก้ไขปัญหาจากสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน“

ทุ่งสง
เกษตรครัวเรือน พอเพียง สุขใจ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / จรัสรวี ไชยธรรม

พิพิธภัณฑ์แบ่งพื้นที่ศึกษาธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน 4 จุดได้แก่

  1. ฟื้นฟู กักเก็บ สำรอง พื้นที่ 295 ไร่ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านวังไทรสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อป้องกันดินถล่มและระบบกักเก็บน้ำฝายกึ่งถาวรสระน้ำแก้มลิงเพื่อใช้ในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่แปลงรวม 26 ครัวเรือนและระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ลดค่าใช้จ่าย 101,000 บาทต่อปีและน้ำสำโรงในระบบรวม 60,655 ลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1773 ครัวเรือน 11 หมู่บ้าน 2 ตำบลหนึ่งอำเภอ
  2. ป่าต้นน้ำผลิตน้ำมาใช้และดื่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ 295 ไร่เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงพัฒนาระบบน้ำดื่มชุมชนเพื่อเป็นน้ำสะอาดใช้ในการอุปโภคและบริโภคจำนวน 53 ครัวเรือนอัตราการผลิต 6,000 ลิตรต่อวันลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มได้ถึง 36,000 บาทต่อปี
  3. กลุ่มเยาวชนพนาดรรวมเฝ้าสังเกตระดับน้ำและแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมน้ำหลากดินโคลนถล่มในพื้นที่ตำบลถ้ำใหญ่และตำบลนาหลวงเสนสมาชิกเยาวชนทั้งหมด 10 คน และชุมชนทุ่งสงและเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนโดยมีศูนย์กลางระบบการจัดการภัยพิบัติที่ตำบลถ้ำใหญ่ขยายเครือข่ายร่วมกับเทศบาลเมืองทุ่งสงตำบลที่วังเพื่อเฝ้าระวังแหล่งน้ำตลอดพื้นที่ชุมชนทุ่งสงช่วยลดความสูญเสียทั้งในด้านทรัพย์สินและชีวิต’
  4. เกษตรครัวเรือน พอเพียง สุขใจ ชุมชนปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรแนวทฤษฎีใหม่โดยเริ่มจาก 2 รายแล้วมีผู้เข้าร่วมเพิ่มอีกเป็น 11 Line ซึ่งพื้นที่ขยายผลเอง 5 รายรวมทั้งสิ้น 16 รายปลูกพืชผสมผสานในพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือนซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ 343,403 บาท/ปี ลดรายจ่าย 67,367 บาท/ปี